วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 10 (27ตุลาคม 2557)

       อาจารย์นัดดูงาน ความคืบหน้าของงานออกแบบพัฒนาขั้นที่ 2

นักศึกษาศึกษาการใช้โปรแกรม Rhinoceros 3d และ Matrix เบื้องต้น โดย คุณ คณาศักดิ์ พงษ์พาลี ลูกศิษย์และผู้ช่วยในการทำงานวิจัยของอาจารย์ประชิด รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ โดยโปรแกรมมีไว้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ สามารถสร้างภาพเสมือนจริง โดยการสร้างงานตัวอย่างคร่าวทั้งงานออกแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์งานออกแบบอัญมณี ตลอดการทำให้เห็นถึงกระบวนการเรนเดอร์ ในการสร้างภาพเสมือนจริง ซึ่งงานมีความสำคัญในการนำเสนอต่อลูกค้าผู้ว่าจ้างงาน ในการทำให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์จริงก่อนผลิตซึ่งมี         ที่มา http://i.ytimg.com/vi/akKM6QJRR5E/maxresdefault.jpg
ความที่มาเสมือนจริง   เป็นอย่างมาก
       กระบวนการทำงานคือสิ่งที่อาจารย์ต้องการเห็นจากนักศึกษาถึงพื้นฐานการการทำงานของแต่ละคน อาจารย์จะได้ปรับแก้ให้เข้ากับแต่ละรายบุคคลการนำงานมาเป็นเคส สตัดดี้ คือการนำงานมาเป็นแบบอย่างแต่ไม่ใช่ลอกทั้งหมด ในการทำงานย่อมมีการผิดพลาดแต่สิ่งที่ได้จากความผิดพลาดนั้นทำให้เกิดการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์คือเครื่องมือที่จะช่วยแสดงแต่ตัวคนต่างหากที่เป็นผู้สร้างสรรค์ การเรียนรู้การศึกษาจึงมีความสำคัญ ถ้าหากว่าเราไม่เรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก้จะทำงานที่ยากไม่ได้ ในขณะเดียวกันที่เราไฝ่รู้การทำงานก็จะง่ายขึ้นในอนาคต เพราะเราได้ผ่านความยากลำบากเหล่านั้นมาแล้ว




ผลงานตัวอย่าง



 
ตัวอย่างการแสดงผลงานในงานวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประเมินผลการศึกษาหลังจากผ่านกลางภาคการศึกษา

1.ครึ่งเทอมที่ผ่านมาได้เรียนรู้อะไรที่เกี่ยวข้องกับวิชา

- การทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน การค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกลงพื้นที่อย่างละเอียด การสร้างสรรค์งานจากข้อมูล การมองการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ และเริ่มแก้ไขจากปัญหานั้นๆ  การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น และการสร้างสรรค์นำเสนอผลงาน

2.ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการศึกษา

-    การสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ความกลัว ไม่กล้าแสดงออก การคิดแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ การทำงานอย่างไม่มีขั้นตอนแบบแผนในทางที่ถูกต้อง ค่าใช้จ่าย การบริหารเรื่องเวลาจัดการเวลา การขัดข้องทางเทคโลยี อินเตอร์เนต

3.สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงในสาขาวิชานี้

-      อยากให้มีอุปกรณ์การศึกษา ให้เพียงพอกับนักศึกษา แก้ไขปัญหาระบบอินเตอร์เน็ต 

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 9 (20 ตุลาคม 2557)



              เริ่มต้นกระบวนการศึกษางานวิจัย  ศึกษาวิธีการเขียน Proposal โคร่งร่างงานวิจัย โดย ศึกษาจากลิงค์ต่างๆที่อาจารย์กำหนดแชร์และแนะนำให้
การปรับปรุงแก้ไขการทำบล็อค การนำเสนอแก็ตเจ็ต การจัดระยะหน้าให้เหมาะสม ขนาดภาพและการวาง layout ตามหลักองค์ประกอบศิลป์ การจัดการบทความด้วยการแก้ไข html script  การทำแท็ก labels ให้ลิงค์ไปยังข้อมูลซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำงานวิจัย

เขียนประเมินการศึกษาที่ผ่านมาครึ่งเทอมตามหัวข้อดังนี้
1.ครึ่งเทอมที่ผ่านมาได้เรียนรู้อะไรที่เกี่ยวข้องกับวิชา
2.ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการศึกษา
3.สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงในสาขาวิชานี้

การนำเสนองานกับอาจารย์ต้องมี Proposal แบบสเกตช์ และการสืบค้น โดยศึกษางานจาก ผลงานวิจัยของรุ่นพี่ หรือของอาจารย์ ตามที่อาจารย์ได้แชร์หรือกำหนดให้

https://sites.google.com/site/artthesis/ เว็บไซต์รวมรวมผลงานวิจัยของนักศึกษาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
http://web.chandra.ac.th/research/ เว็บไซต์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
http://issuu.com/ เว็บไซต์ ที่สามารถหาเอกสารที่วางแผงดิจิตอล ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย
http://chainatotop.blogspot.com/ เว็บไซต์ ตัวอย่างงานวิจัยของอาจารย์

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 8 (13 ตุลาคม 2557)

จสอบนำเสนอพรีเซนท์ สรุปงาน ตามกระบวนการเรียนรู้ 3 ส. พร้อมรับคำแนะนำจากอาจารย์ เพื่อนำไปพัฒนาต่อ สอบปฏิบัติ วัดทักษะ และ สอบ E-Learning Claroline เก็บคะแนนกลางภาค

Mood Board สรุปผลงานตามกระบวนการเรียนรู้ 3ส.

\



วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Raster and Vector

หลักการของกราฟิกแบบ Raster

หลักการของกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกจะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่

ดังนั้นการกำหนดพิกเซลควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือ

• การใช้งานทั่ว ๆ ไป กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch) หรือจำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว
• งานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi
• งานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350

หลักการของกราฟิกแบบ Vector

เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน แยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก การสร้างการ์ตูน เป็นต้น โปรแกรมที่นิยม คือ โปรแกรม Illustrator , CorelDraw , AutoCAD , 3Ds max

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 7 (29 กันยายน 2557)

แปลสรุปข่าว
Pepsi ผลงานของนักศึกษา "จากสูงสุดสู่สามัญ"
Shizen ชุดอุปกรณฺทำสวนในเมือง
Khaohom ผลงานของนักศึกษา ข้าวเอกลักษณ์ไทยใส่กระติ๊บ
นักสรุปเคลียร์งานกลางภาควันที่13 ตุลาคม 2557 จัดแสดงผลงานเวลา 9.30น. 
มู๊ดบอร์ดขนาด 20x30นิ้ว พร้อมขาตั้งตามขั้นตอนการดำเนินการ 3ส.
มีงานออกแบบ 3แบบ แตกต่างกัน โดยเสนอการจัดวาง รูปร่าง,รูปทรงแบบ3มิติ 
สอบการสร้างงานสามมิติ ด้วยGoogle Sketch Up 
อาจารย์สอนการใช้ Google Sketch Up เบื้องต้น