วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พลาสติก  7 ประเภท
       ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนำวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการนำพลาสติกต่างๆ ไปรีไซเคิลด้วย สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยมกลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆ โดยหากพลาสติกใดสามารถนำมารีไซ-เคิลได้ ก็จะมีรหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยมรอบๆ ตัวเลขตัวหนึ่งดังแสดงในรูปภาพ อย่างไรก็ตามก่อนจะทราบ
รายละเอียดของพลาสติกทั้ง 7 ประเภท เรามาทำความรู้จักความหมายคร่าวๆ ก่อนว่าพลาสติกคืออะไร




พลาสติกคืออะไร
             พลาสติกจัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นสายโซ่ยาวๆ แต่ไม่สามารถมองเห็นเป็นสายโซ่ได้ด้วยตาเปล่าซึ่งสายโซ่ดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยย่อยๆที่เรียกว่ามอนอเมอร์ พอลิเมอร์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชั่น(polymerization) ของมอนอเมอร์ โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก พลาสติกมีหลายชนิดและสามารถใช้แทนวัสดุธรรมชาติได้
หลายอย่าง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ผลิตท่อพีวีซี, พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (PET) ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำดื่ม และพอลิสไตรีน (PS) ใช้ผลิตภาชนะบรรจุต่างๆ เช่นช้อน พลาสติก เป็นต้น

เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเป็นอย่างไร
        เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะแสดงคุณสมบัติ 2 แบบหลักคือ 1) พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า “เทอร์โมเซตติ้ง (thermosetting)” และ 2) พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกแสดงคุณสมบัติแบบนี้ว่า “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้คือพลาสติกประเภท “เทอร์โมพลาสติก(Thermoplastic)”

พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท

พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE)เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น

พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น

พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น




พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น

พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและ
กรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น

พลาสติกเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่ายใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้

พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่ได้







        ขยะพลาสติกจึงไม่ควรนำไปทิ้งรวมกับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้เป็นต้นแต่ควรแยกทิ้งโดยแยกประเภทของขยะพลาสติกและล้างทำความสะอาดก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อที่จะได้นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัฑณ์อื่นๆ ต่อไป เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก

ที่มาของบทความ : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-56(500)/page4-1-56(500).html

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 2 (25 สิงหาคม 2557 )

ตรวจผลิตภัณฑ์ที่ทำการหามา อาจารย์ฮะิบายเกี่ยวกับการทำงาน และมู้ดบอร์ด พร้อมถ่ายภาพเป็นหลักฐาน
ทำ Visual Analysis วิเคราะห์โครงสร้างของผลิตภัณฑ์
วิธีการทำงาน 
1. ถ่ายรูป สินค้า อย่าพึ่งแกะหีบห่อ
ด้านบน ด้านหน้า ด้านข้างซ้าย ด้านข้างขวา ด้านหลัง ด้านล่าง (ทำวิธีการใดก็ได้ให้สวยงามตามหลัก ถ่ายแสงฟูลออเรสเซนต์ธรรมดา) พื้นหลังขาวจากนั้นสเกตช์ตาม คร่าวๆ สำรวจผลิตภัณฑ์ว่ามีลักษณะใดยังไง เขียนรายละเอียดเล็กๆน้อยในงานสเกตช์ เช่นโยงเส้นบอกว่า ตรงนี้คืออะไร

2.ลองใช้ผลิตภัณฑ์ดู บอกความรู้สึก วิธีการใช้ กลิ่น รส สัมผัส อาการ จดเอาไว้

3.แยกส่วนผลิตภัณฑ์ วัดขนาด เช็ค สี ดูว่าประกอบด้วยอะไร บ้าง ห่อหุ้ม ด้วยอะไร ชนิดไหน ราคาเท่าไหร่ ซื้อที่ไหน เอาแบบเท่าที่หาได้ ส่วนผสม จากอะไร ๆสรรพคุณ ค้นมาเยอะๆ

4.ฉลาก ดูว่า สีอะไร การพิมพ์แบบ ไหน ใช้ฟ้อนต์อะไร ขนาดกี่พอยต์ ตัวอักษรสีไร เป็นการพิมพ์ชนิดไหน ใช้สีอะไรบ้าง ขาดเครื่องหมาย หรือตรารับรองอะไรบ้าง หาให้เยอะที่สุด

5.ใส่ในรายงาน และ ลงบล็อกโดยการสร้างแก็ดเจ็ท เพจ Gadget > Page ตั้งชื่อว่า ส.1 สืบค้น ใส่ข้อมูลลงในหน้านั้น 

6.พิมพ์รายงานมาคนละฉบับและรวมในกลุ่ม พร้อมมู้ดบอร์ด

ตอบแบบสอบถามก่อนเรียน Surway Can
ศึกษาข้อมูลกราฟิกบรรจุภัณฑ์ เช่น ข้อมูลรหัสแท่ง Barcode เครื่องหมายรับรองต่างๆเป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของความหมายของคำว่า กราฟิก,การออกแบบกราฟิก,การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์


คำว่า กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
........กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ



Graphic
A graphic is an image or visual representation of an object. Therefore, computer graphics are simply images displayed on a computer screen. Graphics are often contrasted with text, which is comprised of characters, such as numbers and letters, rather than images.
      กราฟิกเป็นรูปภาพหรือภาพของวัตถุ ดังนั้นคอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นเพียงภาพที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ กราฟิกมักจะแตกต่างกับข้อความ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักขระเช่นตัวเลขและตัวอักษรมากกว่าภาพ
      ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น

สรุป กราฟิกคือสื่อ ที่สามารถสื่อความคิดและอารมณ์ด้วยการมองเห็น ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นรูปวาด ภาพถ่าย โฆษณา เป็นต้น

Graphic Design
การออกแบบกราฟิก
        ความหมายของการออกแบบกราฟิกเป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่



         กราฟิกดีไซน์ (อังกฤษ: Graphic design) คือการออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา (เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับดินสอ ปากกา พู่กัน  กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์


      การออกแบบกราฟิค กราฟิคเป็นการรวมคำสองคำคือ คำว่า กราฟิก (Graphic) และ คำว่าออกแบบ (Design) มีขอบข่ายที่กว้างมากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบนิเทศศิลป์เป็นการแก้ปัญหาและวางแผนเพื่อที่จะนำเสนอสารความคิดต่อผู้ดูผู้อ่านให้รับรู้ความหมาย

ที่มา : หนังสือเรื่อง :การออกแบบ นิเทศศิลป์
ผู้เขียน : ผศ.ประชิด ทิณบุตร
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์




Graphic Design Is


               การออกแบบกราฟฟิก คือรูปของการสื่อสารที่ผู้ออกแบบจะใช้รูปภาพ แบบอักษร และ เค้าโครงหน้า เพื่อสื่อข้อความ กระบวนการสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับผู้ว่าจ้างและนักออกแบบ


สรุป การออกแบบกราฟิกคือ การออกแบบรูปภาพหรือสัญลักษณ์ มีหน้าที่สื่อความหมาย

Graphic Design for Packaging 
            การออกแบบกราฟฟิกหมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของ
โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (to communicate)
ในอันที่จะให้ผล ทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูด ความสนใจ
การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ผู้ผลิต ด้วย
การใช้วิธี การออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมาย
และสัญลักษณ์ ทางการค้า แล ะอาศัยหลักศิลปะการ จัดภาพให้เกิดการประสาน
กลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้วางไว้
          บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ ทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดีเยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ คำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ = คำบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า

S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา
A = Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง
F = Function ใช้งานง่าย สะดวก 
E = Economic ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม


สรุป  การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ คือ การออกแบบกราฟิกโดยผ่านกระบสนการคิดลงในบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและดึงดูดในตัวผลิตภัณฑ์ โดยจะบอกรายละเอียดและข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และเพื่อส่งเสริมทางด้านการตลาด




วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 1 (18 สิงหาคม 2557 )

โฮมรูมแนะนำเกี่ยวกับวิชา การออกแบบกราฟิกเพื่อบรรจุภัณฑ์
การบ้าน - ให้หาความหมายของคำว่า "กราฟิก","การออกแบบกราฟิก"และ"การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์" เขียนสรุปยกตัวอย่างไม่เกิน3บรรทัด พร้อมภาพประกอบ รวมถึงสร้างลงค์ให้เข้าถึงข้อมูลที่นำมาสรุป อ้างอิงให้ถูกต้องมาจากแหล่งต่างๆ จากหนังสืออย่างน้อย1เล่ม ถ่ายปก ข้อมูลบรรณานุกรม สารบัญ และข้อมูลที่หามาได้ โดยทำในบล็อคสรุปการเรียนรู้ของตนเอง ประมาณ 1 หน้าเพจ

เขียนบทความแปลสรุปข่าว โดยหาข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.thedieline.com/ หรือจาก , Pinterest หรือไซต์อื่นๆ

จับกลุ่มกลุ่มละประมาณ 5-6 คน ทั้งหมด 8กลุ่ม แบ่งกันทำแบบสำรวจ การวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท จำนวน 16 ฉบับโดยเฉลี่ยให้แต่ละคนในกลุ่มประเมิน

สัปดาห์หน้าให้สมาชิกในกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับสินค้าการเกษตรวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาทประเภทสุขภาพและความงาม โดยหา ผลิตภัณฑ์สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม พร้อมทำการค้นคว้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ว่าที่มาเป็นอย่างไร จัดอยู่ในสินค้า ประเภทไหนอย่างไร

โปรแกรมที่ใช้ในการศึกษา
1.Sketch Up
2.Photoshop CS6
3.Illastrator CS6
4.CorelDraw
5.Rhino 3D

อุปกรณ์ในการศึกษา
1.สมุดจดบันทึก
2.ดินสอ 2B ปากกา
3.สายวัด/ไม้บรรทัด
4.กระดาษ A4
5.แฟ้มเก็บเอกสาร
6.แผ่นรองตัด
7.วงเวียน
8.คัตเตอร์ปลายแหลม

- การทำงานแต่ละครั้งต้องมี Mood Board

กรอกรายละเอียดข้อมูล เกรดเฉลี่ย  อีเมล เบอร์โทรศัพท์ URLลิ้งบล็อก ในแบบบันทึกและการวัดประเมินผลของวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ .ในลิงค์ที่อาจารย์จัดไว้ให้ก่อนวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557