ส.1 สืบค้น Research



การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สำหรับวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท
ประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม 

กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน



อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา

สมุดสเกตช์
ดินสอ 2B
ยางลบ
ไม่บรรทัด/สายวัด
ไซริง
ขวดเปล่า
แผ่นรองตัด
กรรไกร
คัตเตอร์
กระดาษA4
กระดาษนกกระจอกแผ่นใหญ่
กล้องถ่ายภาพ
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษา 2 ชิ้น (


กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
             วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น









                   “วิสาหกิจชุมชน” จัดเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การสนับสนุนจึงไม่เป็นระบบและไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้มีปัญหาในการดำเนินงานเพราะวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน และบางครั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จึงได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว




ความหมายของวิสาหกิจชุมชน

                     ได้ให้คำนิยามคำว่า วิสาหกิจชุมชน (Small and Micro community Enterprise--SMCE) หมายถึง “การประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว เพื่อจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและความเพียงพอของครอบครัวและชุมชน ทุน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่น้องไว้ใจกัน) ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก”

              วิสาหกิจชุมชน หมายถึง การประกอบการ ซึ่งรวมถึงกระบวนการคิด การจัดการผลผลิต และทรัพยากรทุกขั้นตอนโดยมีภูมิปัญญาขององค์กรชุมชนหรือเครือข่ายขององค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งมิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อการสร้างกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกำไรทางสังคม ได้แก่ ความเข้มแข็งของชุมชนและความสงบสุขของสังคมด้วย

         วิสาหกิจชุมชน คือ การประกอบการโดยชุมชนที่มีสมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งด้านการผลิต การค้า และการเงิน และต้องการใช้ปัจจัยการผลิตนี้ให้เกิดดอกผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างรายได้และอาชีพ ด้านสังคม คือ การยึดโยงร้อยรัดความเป็นครอบครัวและชุมชนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ แบ่งทุกข์แบ่งสุขซึ่งกันและกัน โดยผ่านการประกอบกระบวนการของชุมชน

           สำหรับความหมายของวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 นั้น วิสาหกิจชุมชน หมายความว่า “กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าการให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรูปนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนประกาศกำหนด”

ลักษณะของวิสาหกิจชุมชน
จากความหมายของวิสาหกิจชุมชนข้างต้นนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 อย่างด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน คือ

1. ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง แต่อย่างไรก็ดี คนนอกอาจมีส่วนร่วมโดยอาจมีการถือหุ้นได้เพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่หุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจ

2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน ซึ่งอาจจะนำวัตถุดิบบางส่วนมาจากภายนอกได้แต่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด

3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งมีความรู้ภูมิปัญญา หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเกิดมีความเชื่อมั่นในตัวเองก็จะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่เอาแต่เลียนแบบหรือแสวงหาสูตรสำเร็จ

4. มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานทุนที่สำคัญ เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับประยุกต์ให้ทันสมัย ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาสากลหรือจากที่อื่น

5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ทำแบบโครงการเดี่ยว คล้ายกับปลูกพืชเดี่ยว แต่เป็นการทำแบบวนเกษตร คือ มีหลาย ๆ กิจกรรมประสานผนึกพลัง (synergy) และเกื้อกูลกัน (cluster)




6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก การเรียนรู้คือหัวใจของกระบวนการพัฒนา วิสาหกิจชุมชน หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะมีแต่การเลียนแบบ การหาสูตรสำเร็จโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะไม่มีวิสาหกิจชุมชนบนฐานความรู้ แต่บนฐานความรู้สึก ความอยาก ความต้องการตามที่สื่อในสังคมกระตุ้นให้เกิด ทำให้ความอยากกลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตไปหมด




7. มีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย การพึ่งตนเองคือเป้าหมายอันดับแรกและสำคัญที่สุดของวิสาหกิจชุมชน ถ้าหากพลาดเป้าหมายนี้คือพลาดเป้า วิสาหกิจชุมชนจะกลายเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่กำไรก่อนที่จะคิดทำให้รอด ไม่พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เกิดความมั่นคงก่อนที่จะก้าวไปพัฒนาธุรกิจ




ประเภทของวิสาหกิจชุมชน


ในการแบ่งประเภทของวิสาหกิจชุมชน สามารถมองได้หลายมิติ กล่าวคือ แบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก และแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน
การแบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน เป็นการผลิตเพื่อการใช้ในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง คือ ข้าว อาหาร สมุนไพร ของใช้ ปุ๋ย ซึ่งอยู่ในขีดความสามารถของชาวบ้านทั่วไปจะทำได้ เป็นของต้องกินต้องใช้ประจำวัน มีมูลค่ามากกว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งปีของ แต่ละครัวเรือน แต่ชาวบ้านทั่วไป ไม่ว่าอยู่ใกล้เมืองหรือไกลเมืองต่างก็ซื้อกินซื้อใช้

2. วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า เป็นวิสาหกิจชุมชนที่สามารถนำออกสู่ตลาดใหญ่ ได้เพราะมีลักษณะเฉพาะตัว มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น บางอย่างอาจมีสูตรเด็ดเคล็ดลับหรือคุณภาพดีในระดับมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็คือหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า

      ส่วนการแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ระดับครอบครัว คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง เป็นการประกอบกิจกรรมเพื่อกินใช้ในครอบครัว เพื่อทดแทนการพึ่งพาจากภายนอก เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรไว้ใช้กินในครอบครัว

2. ระดับชุมชนและเครือข่าย คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพอเพียง เป็นการประกอบกิจการ โดยกลุ่ม เพื่อตอบสนองการอุปโภคบริโภคในชุมชนและเครือข่าย ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาให้เป็นวิสาหกิจชุมชนแบบก้าวหน้าได้ เพื่อที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้
      ทั้งนี้การประกอบการวิสาหกิจชุมชนไม่ได้เน้นเพื่อกำไรสูงสุด แต่จะเน้นที่การลดค่าใช้จ่าย การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ที่มา : http://ophbgo.blogspot.com/




ข้อมูลเรื่องผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพและความงาม
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
             คือ ผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั่วไป
ความ รู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรศึกษา มี 4 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ อาหารที่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องขออนุญาต
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไป

3. กลุ่มผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนและใช้ในสำนักงาน ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้เป็น วัตถุอันตรายที่ต้องขอขึ้นทะเบียน มีทั้งหมด 10 กลุ่ม ซึ่งมีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์กำจัดหมัด หนู กำจัดกลิ่น ฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาด แก้ไขการอุดตัน ซักผ้าขาว ซักแห้ง ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด เป็นต้น

4. กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ยา ประกอบด้วย ยาสมุนไพร และ ยาแผนโบราณ

กลุ่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Product)
             อาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้แก่วัตถุทุกชนิดที่คน กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึง ยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือ ยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้ อาหารยังรวมถึงวัตถุ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส ด้วย

ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร
ผลิตภัณฑ์ อาหาร แบ่งตามการขออนุญาต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้


1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ย่อย ดังนี้

1.1 อาหารสดหรือแห้ง ที่ผู้ผลิตผลิตขึ้นเองแล้วจำหน่าย กับผู้บริโภคโดยตรง ณ สถานที่ผลิต เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ที่ขายให้กับลูกค้า โดยตรง ธัญพืช ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง / ถั่ว งาบรรจุถุง
1.2 อาหารสำเร็จรูป ที่ผลิตแล้วยังไม่ ได้บรรจุใส่ภาชนะ เมื่อจะจำหน่ายให้กับผู้บริโภคจะต้องตัก แบ่งใส่ถุง ใบตอง เช่น ข้าวแกง ต่าง ๆ ขนมไทย
1.3 กลุ่มอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ ที่ ต้องนำไปปรุงให้สุกก่อน เช่น แหนม กุนเชียงหมูยอ ลูกชิ้น ไส้กรอก ไข่เค็มดิบ ปลา แห้ง กุ้งแห้ง ปลาทู ปลาทอด ปลาดิบ
1.4 กลุ่มอาหารที่มีจุดมุ่งหมายเป็นเครื่องปรุง เครื่องชูรส เช่น กะปิ ปลา ร้า เกลือป่น น้ำจิ้มที่ไม่ใส่ภาชนะบรรจุปิดสนิท น้ำพริกแกง พริกป่น


2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้


2. 1 เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภค ซึ่งจะ ต้องอนุญาตใช้ฉลากจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่ไม่ ต้องส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ เช่น

- กลุ่มอาหารที่ผลิตจากพืช เช่น ซอสจากถั่วเหลือง ซีอิ๊ว เต้าเจียว น้ำจิ้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท นำสลัด นำ พริกปรุงรส ผลไม้ตากแห้ง / ดอง/แช่อิ่มบรรจุภาชนะ ขนม ไทย ต่าง ๆ เบเกอรี่ (ขนมปัง คุกกี้) ขนมอบกรอบ ขนมขบเคี้ยว ขนมกวน/เชื่อม

- กลุ่ม อาหารผลิตจากสัตว์ เช่น หมูแผ่น หมู หยอง หมูทอด หมูทุบ ปลากรอบปรุง รส ปลาหมึกปรุงรส ไข่เค็มสุก ปลา ร้าปรุงรสพร้อมบริโภค

2.2 กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่ต้องส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เป็นกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระ ทรวงสาธารณสุข และต้องขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร แบ่ง เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

2.2.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น เครื่องดื่มทั้งชนิดน้ำและผงจากผัก/ผลไม้/สมุนไพร น้ำตาล สด ซอสมะเขือเทศ น้ำมันพืชต่าง ๆ น้ำ ส้มสายชู กาแฟคั่ว/ผงสำเร็จ/ปรุงสำเร็จ
2.2.2 กลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำปลา น้ำบูดู เครื่องดื่มรังนก ไข่เยี่ยวม้า และผลิตภัณฑ์นม
2.2.3 อื่น ๆ เช่น น้ำ ดื่ม น้ำแร่ น้ำแข็ง


ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Cosmetics Product)

เครื่องสำอาง คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อความสะอาด และความสวยงามเท่านั้น เช่น ครีมบำรุงผิว โลชั่นกันแดด น้ำหอม ลิปสติก แป้ง ฝุ่น รองพื้น แป้งทางหน้า ดินสอ เขียนคิ้ว ผลิตภัณฑ์ทาแก้ม ทาเล็บ ล้าง เล็บ ตกแต่งทรงผม ระงับกลิ่นกาย สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ยาสีฟัน น้ำยา บ้วนปาก ผ้าเย็น ผ้าอนามัย เป็น ต้น

ประเภท ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตามพระ ราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางเป็น 3 ประเภท ตามลำดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หาก ผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี ได้แก่

1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มี ความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี จึง ต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาความ ถูกต้องเหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ดัดผม ย้อมผล ฟอกสีผม แต่ผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง ยาสีฟัน หรือ น้ำยาบ้วนผากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น เครื่อง สำอางประเภทนี้ต้องมีฉลากที่แสดงข้อความว่า “เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ” และมีเลข ทะเบียนในกรอบ อย.


2. เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา การ กำกับดูแลจึงลดระดับลงมา

ตั้งแต่เรื่องการขึ้นทะเบียน เป็นการจดแจ้งต่อ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น เครื่องสำอางในกลุ่ม นี้ ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น กระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เครื่อง สำอางที่ผสมสารขจัดรังแค เป็นต้น เครื่องสำอาง ประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า“เครื่อง สำอางควบคุม”


3. เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือ สารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตราย จากการบริโภคได้น้อย ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม แป้งทาหน้า ลิปสติก เจ ลแต่งผม น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ดินสอ เขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม อายแชโดว์ เป็น ต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน

การโฆษณาเครื่องสำอาง

การ โฆษณาเครื่องสำอาง ไม่ต้องขออนุญาตก่อนทำการโฆษณา แต่ การโฆษณาต้องอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง ถูกหลักวิชาการและ เป็นธรรมต่อผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจขอให้พิจารณา ให้ความเห็นก่อนทำการโฆษณาได้

การผลิต / นำเข้าเครื่องสำอาง

- เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ต้องขึ้นทะเบียน ก่อนผลิตหรือนำเข้า
- เครื่องสำอางควบ คุม ต้องแจ้งรายละเอียดก่อนผลิตหรือนำ เข้า
- เครื่องสำอางทั่วไป
- ผลิตในประเทศไม่ต้องขึ้นทะเบียน เพียงแต่แสดง ข้อความที่ ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
- นำเข้า ต้องยื่นเอกสารขอนำเข้าและต้องจัดทำฉลากภาษา ไทย ให้ครบถ้วนและถูกต้อง ภายใน 30 วัน นับแต่เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบให้นำเข้า

สถานที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

การ ขายเครื่องสำอางสามารถกระทำได้โดยอิสระ ไม่ต้องขออนุญาตขาย เครื่องสำอาง แต่เครื่องสำอางที่ขายต้องมีฉลากภาษาไทย และฉลากต้องแสดงข้อความครบถ้วนและถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้

สถานที่ขอขึ้นทะเบียนหรือแจ้งราย ละเอียด

ผู้ประกอบการที่มีสถานที่ประกอบการ ตั้งอยู่ ให้ยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ผลิตหรือนำเข้าที่ กอง ควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาคาร 4 ชั้น 4 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ใน บริเวณกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัด นนทบุรี 11000 โทร. 02-5907272,02-5918466

หรือ สำนักงานสาธารณ สุขจังหวัดที่สถานที่ผลิต สถานประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นำ เข้าตั้งอยู่
ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

เป็น วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ที่ต้องขอขึ้นทะเบียนกับสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา จำแนกตามประโยชน์การใช้ของวัตถุ อันตรายเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 10 กลุ่ม ดังต่อไปนี้


1. ผลิตภัณฑ์ป้องกันและ / หรือ ไล่ กำจัดแมลง
2. ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในสัตว์แลกำจัดเหาในคน
3. ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู
4. ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคหรือกำจัดกลิ่นในสระว่าย น้ำ
5. ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
6. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัสดุอื่นๆ
7. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แก้ไขการอุดตันของท่อ
8. ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว
9. ผลิตภัณฑ์ซักแห้งผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
10. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิดหรือสารละลายที่ใช้เจือจาง ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด

กลุ่มผลิตภัณฑ์ยา
1. ยาสมุนไพร หมายถึง ยา ที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ที่ยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ เช่น ใบ
มะขาม แขก ดอกคำฝอย ฟ้าทะลายโจรฉลากที่ แสดงรายละเอียดของยาสมุนไพร ประกอบด้วย

- ชื่อสมุนไพร
- น้ำหนักหรือปริมาณที่บรรจุ
- ครั้งที่ผลิต
- วันเดือนปีที่ผลิต
- ชื่อผลิต
- ถ้าจะแสดงสรรพคุณของสมุนไพร ต้อง เป็นไปตามที่กำหนดหรือขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน
การ โฆษณาเกี่ยวกับยาสมุนไพร ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้า หน้าที่
- กรณีอยู่ต่างจังหวัด ขออนุญาตจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- กรณีอยู่ กทม. ขอ อนุญาตกองควบคุมยา อาคาร 2 และ 4 ชั้น 3 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000


2. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยา ตามตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศหรือยาที่อาศัยความรู้จากตำราหรือการ เรียนสืบต่อกันมาที่ไม่ใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์

รูปแบบ ของยา จะต้องเป็นรูปแบบของยาแผนโบราณ เช่น ยาเม็ด ยาผง ยาลูกกลอน ยา น้ำ ยาเคลือบน้ำตาล ยาขี้ผึ้ง เป็น ต้น


ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ประกอบการ
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มร่วมทุนอาหารดินอินทรีย์ชีวภาพ
รหัส 1-18-06-06/1-0001

           ตำบลหนองแซง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 20 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ถึงร้อยละ 80 และการทำการเกษตรของประชาชน ใน 1 ปี เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมี เป็นเงินร่วม 30 ล้านบาท จึงเป็นที่มาของการแก้ปัญหาในการลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตร ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง

              ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง ชุมชน/ เทศบาล/ หน่วยงานราชการ/ ภาคเอกชน โดยได้มีการบูรณาการความร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน โดยจุดก่อเกิดเริ่มจากโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท “เศรษฐกิจพอเพียง” พึ่งตนเอง บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ในพื้นที่ของบ้านแหลมทอง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา

                  ตั้งแต่เดิม ชาวตำบลหนองแซง ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก จึงทำให้คุณภาพของดินเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกับชาวบ้านแหลมทอง ดำเนินโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท “เศรษฐกิจพอเพียง” พึ่งตนเอง เมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว ซึ่งมีหลักการคือ การทำการเกษตรโดยเน้นการใช้ อินทรีย์ชีวภาพ แทน ปุ๋ยเคมี โดยมีการตั้ง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน โดยได้บริจาคพื้นที่ 1 งาน และ อบต. หนองแซง จัดซื้อสมทบ ให้อีกรวมเป็นพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อดำเนินกิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ และได้มีการสร้างโรงงานอาหารดิน อินทรีย์ชีวภาพ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และมีแปลงเกษตรผสมผสาน เป็นแปลงสาธิต เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และฟื้นฟูทรัพยากรดินไปในตัว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชน ได้นำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการพึ่งพาตนเอง และการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับครอบครัว และชุมชนต่อมาได้มีการบูรณาการความร่วมมือกัน จากภาคีการพัฒนาต่างๆ หลายภาคส่วนในการให้การส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงาน ทั้งทางด้านงบประมาณ และทางด้านวิชาการ จนมีการพัฒนา เป็น ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง

        ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย นอกจากเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งปัจจุบัน มีกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ เป็นศูนย์เรียนรู้ ได้แก่

1) การผลิตปุ๋ยน้ำ
2) การผลิตปุ๋ยหมัก
3) การผลิตปุ๋ยผง
4) การผลิตปุ๋ยเม็ด
5) การผลิตน้ำมันใบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว และเมล็ดสบู่ดำ
6) การผลิตแก๊สชีวภาพจากขยะในครัวเรือน
7) การผลิตถ่านอัดแท่งไร้ควันจากเศษถ่านเหลือใช้
8) การสีข้าวจากโรงสีเล็ก
9) การเผาถ่านแบบได้น้ำส้มควันไม้
10) การผลิตน้ำดื่มชุมชน
                      จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ของศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบล
หนองแซง ทำให้มีผู้ที่สนใจเป็นจำนวนมาก มาศึกษาดูงาน และเข้ารับการฝึกอบรมจากศูนย์เรียนรู้ฯ
โดยมีหลักสูตรการฝึกอบรม จำนวน 4 วัน 3 คืน และมีที่พักสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย ซึ่งจาก
กิจกรรมดังกล่าวของศูนย์เรียนรู้ สามารถสร้างรายได้โดยตรงให้กับคนในชุมชน ที่เป็นบุคลากรในการ
ดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ ประมาณ 56 คน และเกิดรายได้ทางอ้อมอีกจำนวนมากมาย รวมทั้ง การที่มี
การส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้อาหารดิน อินทรีย์ชีวภาพ แทน การใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ในปีที่ผ่านมา สามารถลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรกรรม ได้ประมาณสามล้านบาท


ความชำนาญพิเศษ/จุดเด่นของศูนย์ฯ
         เกษตรผสมผสาน การทำเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำเครื่องผลิตปุ๋ย การผลิตอาหารดิน การทำน้ำดื่ม ผลิตถ่านอัดแท่งไบโอดีเซล ผลิตแก๊สจากขยะ/เศษอาหาร (แก๊สชีวภาพ)
ความพร้อมของศูนย์ฯ
          
            มีอาคารฝึกอบรมรองรับเกษตรกรได้ประมาณ 50 คน และมีสถานที่พัก มีจำนวน 3 ห้อง แบ่งเป็น 1 ห้องใหญ่ 2 ห้องเล็ก สามารถนอนได้ 40–50 คน แบ่งแยกเป็นห้องนอนหญิง และชาย และมีห้องน้ำ-ห้องส้วมรอบๆ บริเวณศูนย์ฯ แยกเป็นห้องน้ำชาย ห้องน้ำหญิง รวมทั้งหมด 12 ห้อง และมีโรงอาหาร โต๊ะ เก้าอี้ แยกออกเป็นสัดส่วนและเพียงพอสำหรับเกษตรกร และมีฐานการเรียนรู้ให้เกษตรกรได้ลงมือปฏิบัติจริง

ประวัติประธานกลุ่ม



ชื่อ-สกุล จ่าเอกสมบัติ วิสูตรพันธุ์

ที่อยู่ 166 หมู่1 บ้านแหลมทอง ตำบลหนองแซง

อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 17160

โทรศัพท์ 08-7209-8138, 08-6200-4136

โทรสาร 0-5640-1132

วัน/เดือน/ปี เกิด 5 มีนาคม 2508

ประสบการณ์
       จ่าเอกสมบัติ วิสูตรพันธ์ อดีตเป็นนักดนตรีประจำกองดุริยางค์ทหารเรือ ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม และยังมีประสบการณ์การทำงานการเกษตรและดนตรี คือเป็นวิทยากรฝึกอบรมการทำปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพ ชนิดน้ำชนิดผง ชนิดอัดแท่ง และชนิดเม็ด ได้ออกแบบชุดเทคโนโลยีการปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เป็นวิทยากรพิเศษสอนดนตรีสากลและเป็นวิทยากรกระบวนการตามหน่วยงานราชการและชุมชนภาคกลาง
รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับ
- ปี 2553 รางวัลเกียรติบัตร การประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ประเภทประชาชนทั่วไป

- ปี 2549 ได้รับเกียรติบัตร หลักสูตรการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

- ปี 2548 รางวัลชนะเลิศ ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนดีเด่น/เศรษฐกิจพอเพียง

- ปี 2547 ได้รับใบประกาศนียบัตรแห่งภูมิปัญญาเกษตรไทย “เป็นผู้อนุรักษ์และส่งเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องมือเครื่องใช้ดีเด่น” จากกรมส่งเสริมการเกษตร
แผนที่




แบบสรุปผลการสัมภาษณ์และผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นทางการออกแบบ

การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทสุขภาพและความงาม

ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท

วันที่ 5/กันยายน. 2557.เวลา 14.30 น. ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มร่วมทุนอาหารดินอินทรีย์ชีวภาพ

เวลา15.10 น. เขตอำเภอ หันคา รหัส 1-18-06-06/1-0001

ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน(CE)ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกและสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ
ชื่อ/ผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้ให้ข้อมูล นส.นัฐพร เนียมใย อายุ 36 ปี ตำแหน่งงาน หัวหน้าฝ่ายธุรการ ประสบการณ์ทำงาน 7ปี
ชื่อประธานกลุ่ม จ่าเอกสมบัติ วิสูตรพันธ์
ข้อมูล ภาษาไทย ( Thai Information )
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มร่วมทุนอาหารดินอินทรีย์ชีวภาพ
ที่อยู่ สถานประกอบการเลขที่166 หมู่ที่ 1 ชื่อหมู่บ้าน แหลมทอง
ตำบล หนองแซง อำเภอ หันคา จังหวัด ชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17160
โทรศัพท์สถานประกอบการ 056-401132,0872098138
ข้อมูล ภาษาอังกฤษ ( English information )
ชื่อที่ระบุผู้ผลิต Nongsaeng Small and MicroCommunity Enterprise
ที่อยู่ สถานประกอบการเลขที่ 166 หมู่ที่ 1 ชื่อหมู่บ้าน Laemthong
ตำบล Nongsaeng อำเภอ Hanka จังหวัด Chainat รหัสไปรษณีย์ 17160
โทรศัพท์สถานประกอบการ 056-401132,0872098138
เบอร์มือถือส่วนตัวผู้ติดต่อ/ผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้มีอำนาจตัดสินใจ 0872098138
ที่อยู่อีเมลส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์/ประสานงาน pockybear@hotmail.com
ที่อยู่อีเมลทางธุรกิจปัจจุบันของสถานประกอบการ pockybear@hotmail.com
ที่อยู่เว็ปไซต์ทางธุรกิจของสถานประกอบการ ไม่มี
วิธีการติดต่อ/สื่อสารที่สะดวก ทางโทรศัพท์
เริ่มประกอบการตั้งแต่ เมื่อ 28 กันยายน 2548
มีเอกสาร/ข้อมูลแนบให้คือ แผ่นพับ
ตราเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหลัก(Trademark/BrandName) คือ “กอทอง”
ไม่มี ไฟล์ต้นแบบอาร์ตเวิร์ค

2.ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ
ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการให้พัฒนา ศักยภาพ  ไม่มี
ผลิตภัณฑ์เดิมคือ ครีมอาบน้ำ แชมพู ครีมนวด สบู่ ผงถ่าน หมอนถ่านเพื่อสุขภาพ ถ่านดูดกลิ่น
ต้องการออกแบบพัฒนาด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า 
1.ครีมอาบน้ำผสมถ่านไม่ไผ่สูตรผสมน้ำผึ้ง
2.ผงถ่านคาร์บอนไม้ไผ่
3.สบู่ถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมน้ำผึ้ง แบบก้อน
4.หมอนถ่านเพื่อสุขภาพ
5.แชมพูผสมถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมอัญชัญ
6.ถ่านดูดกลิ่นแฟนซี (อเนกประสงค์)
3.รายละเอียดข้อมูลสำหรับการพิมพ์ การสื่อสารและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า 
ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาไทย ครีมอาบน้ำผสมถ่านไม่ไผ่สูตรผสมน้ำผึ้ง
ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาอังกฤษ(Product Name) ไม่มี
ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาอื่นๆ ไม่มี
คำอธิบายเกี่ยวกับตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ( Product Info for Print) “ผสมถ่านไม่ไผ่” “สูตรผสมน้ำผึ้ง”
ข้อความโฆษณา (Slogan) ภาษาไทย สนับสนุนคนไทยให้เอา ถ่าน คนเอาถ่าน
ภาษาอังกฤษ ไม่มี
สรรพคุณ/ความดี/ระดับคุณภาพของสินค้า (Benefit/grade/Level ) ไทย/อังกฤษ“ขจัดสารพิษตกค้างบนผิวหนัง ช่วยให้เลือดไหลเวียน ระงับกลิ่นกาย ผลัดเซลล์ผิวเก่า เผยผิวใหม่”
“สดใสเปล่งปลั่ง เนียนลื่นกว่าเดิม” “คุณสมบัติ ใช้ทำความสะอาดผิวกาย ด้วยประสิทธิภาพของผงถ่านช่วยขจัดสารพิษตกค้างและดูดซํบเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดออกจากรูขุมขนและช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพทำให้ผิวสดใสขึ้น ส่วนผสมของน้ำผึ้งบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น นุ่มนวลสดใสเปล่งปลั่ง ไม่แห้งตึง”
ส่วนประกอบที่สำคัญ( Ingredients) ไทย/อังกฤษ ไม่มี
ข้อมูลสำคัญประกอบตัวสินค้า/ข้อมูลทางโภชนาการ(Specifications/Nutrition information)
ไทย/อังกฤษ ไม่มี
คุณค่าทางอาหารต่อหน่วยบริโภค (พลังงาน น้ำตาล ไขมัน โซเดียม)
ไม่มี
วิธีการใช้งานและการเก็บรักษา(Usage/Storage) ไทย/อังกฤษ
ไม่มี
ข้อมูลประวัติการผลิตสินค้า (History) 
ไม่มี

4.ตราสัญลักษณ์ละมาตรฐานต่างๆที่ได้รับและยังมีสิทธิ์อนุญาตการนำมาใช้

4.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช) ทะเบียนเลขที่ ไม่มีช่วงปีที่ได้รับอนุญาตใช้ ไม่มี
4.2 เครื่องหมายโอทอป ระดับดาวโอทอป ไม่มี  เมื่อปีพ.ศ ไม่มี
4.3 ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสินค้าประจำจังหวัด ไม่มี เลขที่ ไม่มี
4.4 ทะเบียนฉลากยา(อย).สำหรับสินค้า ไม่มี หมายเลข ไม่มี
4.6 เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)สำหรับสินค้า ไม่มีหมายเลข ไม่มี
4.7.เครื่องหมายรหัสแท่ง (Bar Code) 13 หลัก EAN
สำหรับสินค้า -เลขรหัส
| - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
4.8 เครื่องหมายรหัส QR ข้อความที่ใช้คือ ไม่มี
4.9 เครื่องหมายมาตรฐานการผลิตผลิต (GMP.) ไม่มี หมายเลข ไม่มี
4.10 เลขที่ใบรับแจ้ง 18-1-5600001

ข้อมูลอื่นๆที่ต้องการสื่อสารกับลูกค้า หรือเพื่อการพัฒนาศักยภาพ
ฉลากบรรจุภัณฑ์ได้รับการออกแบบที่ไม่ค่อยดีนัก ไม่ดึงดูดใจ รกและอ่านยาก

5.ไฟล์ภาพประกอบและกราฟิกที่จำเป็นต้องมีและใช้พิมพ์บนผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์จริง ผู้ประกอบการต้องมอบไฟล์ต่างๆ(ที่มีตามข้อ 4 )ให้แก่ทีมที่ปรึกษาออกแบบ เพื่อใช้ประกอบงานออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อไม่ให้ตราสัญลักษณ์และกราฟิกอัตลักษณ์เดิมที่มีใช้งานจริงของท่าน ไม่ผิดเพิ้ยน ซึ่งจะมอบคืนให้พร้อมต้นแบบใหม่ที่ได้ออกแบบให้ ไฟล์ที่จำเป็นใช้ได้แก่ (ถ้ามี)

5.1 ไฟล์แบบตัวพิมพ์ที่ซื้อลิขสิทธิ์ (Corporate Font License) แล้ว ไม่มี
ฟ้อนต์ที่ใช้พิมพ์ โลโก้ และหรือข้อความต่างๆทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ) มีดังนี้คือ ( หากไม่มี ผู้ออกแบบจะจัดหาและใช้ฟ้อนต์ฟรี ของไทย TH fonts และ free commercial fonts ตามที่จะสามารถจัดหาให้ได้)ชื่อ Font filesที่มีลิขสิทธิ์ ไม่มี
5.2ไฟล์ตราสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ( Brand/Logo/Trademark Symbol) Image file Resolutions 300 dpi, .psd .jpg ,Vector filetype .ai,.cdr ไม่มี  ไฟล์ ไม่มี
5.3 ไฟล์ภาพประกอบบนสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ขนาดไฟล์ภาพ 3 ล้านพิเซลส์ขึ้นไป ไม่มี
5.4 จะส่งมอบไฟล์ต่างๆให้ทางอีเมล/line/ Online Contact กับทีมที่ปรึกษา ไม่มี
อีเมลผู้ประกอบการ pockeybear@hotmail.co.th
(แนะนำให้ใช้อีเมลบริการฟรีของ google หรือ @gmail.com)

6. ภาพรวมความต้องการงานออกแบบ (Design Brief)

กรุณาเลือกระดับภาพรวมของอารมณ์และความรู้สึกของท่าน ที่ต้องการให้ออกแบบใหม่(New Design) การพัฒนาแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ( Re design)

Mood & Feel (อารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการให้ออกแบบหรือพัฒนา) กรุณา เลือกกำหนดค่าระดับความต้องการสื่อสารจากค่าน้อยไปหามาก นับจากจุดกลาง ไปทางซ้ายหรือขวา ด้านใดด้านหนึ่ง ค่าระดับ 0 คือค่าเลือกที่เป็นกลาง



ท่านต้องการงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) สื่อส่งเสริมการขาย ( Promotion Media) และสื่อการสร้างประสบการณ์ร่วมในตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ดังนี้คือ

(   ) ต้นแบบตราสัญลักษณ์ เพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่จะใช้กับสินค้าหรือบริการ
( / ) สื่อสิ่งพิมพ์(Printed Media) เพื่อการสื่อสารและการบริหารจัดการธุรกิจทั้งภายในและภายนอกในองค์กร
( / ) สื่อส่งเสริมการขายสินค้าและการบริการ ( Promotional Media)
(   ) สื่อการสร้างประสบการณ์ร่วมในตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ( Brand Experience /Brand Image Media)

7.วิธีการขนส่ง วิธีการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์สินค้า

7.1 ต้องการออกแบบให้เหมาะสมกับการขนส่งภาย ในประเทศ โดยทาง ( / ) รถยนต์ (   ) รถไฟ 
(  ) เรือ (  ) เครื่องบิน มิติการขนส่ง ขนาด กว้าง...................ยาว...................สูง...................
7.2 ต้องการออกแบบให้เหมาะสมกับการขนส่งต่างประเทศ โดยทาง (   ) รถยนต์ (   ) รถไฟ (  ) เรือ (   )เครื่องบิน มิติการขนส่ง ขนาด กว้าง...................ยาว...................สูง...................
วิธีการจัดจำหน่าย ( / ) จัดขายเฉพาะงาน ( / ) ขายส่งต่อคนกลาง ( / ) ขายประจำ ณ ที่ทำการกลุ่ม ( / ) ขายฝากร้านขายของชำทั่วไป/ห้างร้าน/ห้างสรรพสินค้าชื่อ ร้านค้าโอทอปสวนนกชัยนาท
ร้านค้า ซีอีโอ ชัยนาท
( / ) มีร้านค้า-ที่ทำการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง 
7.3 การซื้อ-ขาย / วิธีการจัดจำหน่ายในประเทศ/ การส่งออกต่างประเทศ
( / ) ดำเนินการเอง ( / ) ผ่านคนกลาง ( ) ห้าง/ร้าน
( / ) ผ่านทางออนไลน์ติดต่อผ่านอีเมล /facebook /เว็ปไซต์
URL https://www.facebook.com/cmenongsaeng?fref=ts
7.4 ราคาจำหน่ายสินค้า1.ครีมอาบน้ำผสมถ่นไม้ไผ่ สูตรผสมน้ำผึ้ง
ราคาขายปลีก 65 บาท / กรัม./ชิ้น / ราคารวมหน่วย หน่วย 250 มล./ชิ้น/
ขายส่ง/ส่วนลด 50 บาท
2.ผงถ่านคาร์บอนไม้ไผ่
ราคาขายปลีก 65 บาท / กรัม./ชิ้น / ราคารวมหน่วย หน่วย กรัม./ชิ้น/
ขายส่ง/ส่วนลด 50 บาท
3.สบู่ถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมน้ำผึ้ง แบบก้อน
ราคาขายปลีก 65 บาท / กรัม./ชิ้น / ราคารวมหน่วย หน่วย กรัม./ชิ้น/
ขายส่ง/ส่วนลด 50 บาท
4.สบู่ถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมน้ำผึ้ง แบบแฟนซี
ราคาขายปลีก 65 บาท / กรัม./ชิ้น / ราคารวมหน่วย หน่วย กรัม./ชิ้น/
ขายส่ง/ส่วนลด 50 บาท
5.แชมพูผสมถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมอัญชัญ
ราคาขายปลีก 65 บาท / 250 มล./ชิ้น / ราคารวมหน่วย หน่วย 250 มล./ชิ้น/
ขายส่ง/ส่วนลด 50 บาท
6.ถ่านดูดกลิ่นแฟนซี (อเนกประสงค์)
ราคาขายปลีก 65 บาท / กรัม./ชิ้น / ราคารวมหน่วย หน่วย กรัม./ชิ้น/
ขายส่ง/ส่วนลด 50 บาท

8.ปัจจุบันสภาพ /ปัญหาที่เกิดขึ้น /ความต้องการพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์

( Problem Situations / Swot Analysis)
การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจ ในฐานะของผู้ประกอบการ(ด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์)จุดอ่อน “ฉลากไม่น่าสนใจ มีข้อมูลมาก ไม่ดึงดูด ผลิตภัณฑ์มีสีไม่น่าใช้ 
จุดแข็ง สินค้ามีคุณภาพ 
อุปสรรค การหาแหล่งจำหน่าย มีค่อนข้างน้อย
โอกาส การเปลียน หรือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
( ) ได้มอบ ( )ให้ยืม ตัวอย่าง/สินค้า ให้ทีมที่ปรึกษาเพื่อศึกษา-ออกแบบ จำนวน 6 รายการ คือ
ซื้อผลิตภัณฑ์ 6 รายการ ได้แก่

1.ครีมอาบน้ำผสมถ่านไม่ไผ่สูตรผสมน้ำผึ้ง
2.ผงถ่านคาร์บอนไม้ไผ่
3.สบู่ถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมน้ำผึ้ง แบบก้อน
4.สบู่ถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมน้ำผึ้ง แฟนซี
5.แชมพูผสมถ่านไม้ไผ่ สูตรผสมอัญชัญ
6.ถ่านดูดกลิ่นแฟนซี (อเนกประสงค์)
9.วาดแผนที่ตั้งสถานประกอบการ/สำนักงานขาย/สถานที่จัดจำหน่าย/หรือสถานที่เข้าร่วมปรึกษา และแจ้งแนวคิด-ความต้องการพัฒนา-ให้เป็นโจทย์เพื่อการออกแบบพัฒนาไว้เพิ่มเติม



อธิบายบอกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการอยากได้ฉลากขวดแบบใหม่ และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์

ชื่อผู้บันทึก ดนุนัย พลศรี วันที่ 5/กันยายน/2557
ลงชื่อ ดนุนัย พลศรี. ทีมที่ปรึกษาด้านออกแบบพัฒนา
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้ประกอบการ นัฐพร เนียมใย
ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายธุรการ
วันที่ 5/กันยายน/2557 เวลา 16.10 นาที

ผู้วิเคราะห์ข้อมูล : นาย ดนุนัย พลศรี

1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า



ชื่อสินค้า : ครีมอาบน้ำผสมถ่านไม้ไผ่สูตรผสมน้ำผึ้ง
ประเภทสินค้า : สุขภาพและความงาม
สถานะผลิตภัณฑ์ : ของเหลว
สีของผลิตภัณฑ์ : สีน้ำตาลทองอมเขียวหม่น
สิ่งผสม : น้ำผึ้ง
วิธีใช้ผลิตภัณฑ์ : ใช้ชำระล้างทำความสะอาดผิวกาย
สีบรรจุภัณฑ์ : ขวดทรงกระบอกกลมสูง (สีใส) / และฝาหัวปั้ม (สีขาวขุ่นใส)
ขนาด/มิติ : ขนาดโดยรวม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 cm สูง 19.5 cm ตอนกดหัวปั้ม สูง 18 cm
ผลิตโดย : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวมทุนอาหารดินอินทรีย์ชีวภาพ เลขที่ 166 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองแซง อ.หันคา จ.ชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17160
เบอร์โทรศัพท์ : 056-401132
HOMEPAGE : ไม่มี
Facebook : https://www.facebook.com/cmenongsaeng?fref=ts

ส่วนประกอบ : หัวสบู่เหลวเนื้อมุก (Ammonium Lauryl Sulfate, Sodium Laureth Sulfate,Polyoxyethylene Monoalkyl ether phophates ,Glycerine, Sodium Chloride), ผงถ่านไม้ไผ่คาร์บอน,น้ำผึ้ง,น้ำหอม,น้ำสะอาด,สารกันเสีย(Propylene Glycol)

ขั้นตอนการผลิต
1.เทหัวสบู่เหลวลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2.นำน้ำผึ้งผสมกับผงถ่านคนให้เข้ากันแล้วเทลงในหัวสบู่เหลวที่เตรียมไว้ในข้อ 1 แล้วคนให้เข้ากัน
3.เติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมแล้วคนให้เข้ากัน
4.เติมน้ำหอมและสารกันเสียในส่วนผสมแล้วคนให้เข้ากัน
5.ทิ้งไว้ให้หมดฟองจึงบรรจุขวด
รูปแบบการขาย : ขายปลีกและขายส่ง
ราคา : ราคาบวกกำไร ณ เมื่อส่งไปที่ตัวแทนขาย ซึ่งคิดเป็นราคาขวดละ 65 บาท
สินค้าจัดส่งไปรษณีย์ ราคาขวดละ 50 บาท อาจลดลงตามปริมาณการสั่งซื้อ
สินค้าขายปลีก ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวมทุนอาหารดินอินทรีย์ชีวภาพ ราคาขวดละ 50 บาท
น้ำหนัก / ปริมาตรสุทธิ : 1 ขวด / 250 มล.

การนำส่งสินค้า : จัดส่งทางไปรษณีย์

2. โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์

เทคนิคการบรรจุ : ตวงผลิตภัณฑ์ตักใส่ขวด
ใช้เทคนิค / วิธีการ / การบรรจุสินค้า : ขวดทรงสูงมีหัวปั้ม เมื่อกดอากาศจะเข้าไปแทนที่และดันตัวผลิตภัณฑ์ออกมาใช้งาน
ขนาด / มิติ : ทั้งหมดของบรรจุภัณฑ์เส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง 5 cm สูง 19.5 cm (ตอนกดหัวปั้มวัดได้ 18 cm, เฉพาะตัวขวดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 cm สูง 15.5 c, ตัวฝาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 cm ฐานกดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 cm, ปากขวดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 cm
สูง 2 cm, หัวกด(ทางออกของตัวผลิตภัณฑ์ตอนที่ใช้) กว้าง 2 cm ยาว 4.5 cm สูง 2.25 cm รูผ่านของตัวผลิตภัณฑ์กว้าง 0.3 x0.5 cm,จากปลายสปริงถึงคอฝาขนาด 6 cm สปริงขนาดยาว 3 cm พลาสติกหุ้มสปริง (กลไกภายใน) ยาว 4.5 cm, หลอดยาว 9 cm เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 cm, ตัวฉลากกว้าง 6.5 cm ยาว 6.5 cm ห่างจากก้นขวด 2 cm
สีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ : ขวดสีใสฝาหัวปั้มสีขาวขุ่นใส
บรรจุภัณฑ์ทำจาก : ขวดทำจากพลาสติกหมายเลข1 พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) (PET,PETE) ,ฝาหัวปั้มทำจากพลาสติกหมายเลข 2 พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) (HDPE),สายยางภายในขวดทำจากพลาสติกหมายเลข 3 พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) (V,PVC)
การขึ้นรูปทรง : การอัดฉีดพลาสติกเข้าพิมพ์หล่อพลาสติก

3.การออกแบบกราฟิก
ระบบการพิมพ์ที่ใช้ : Offset Printing บนกระดาษอาร์ตเคลือบมัน
สี / จำนวนสีที่พิมพ์ : ทอง แดง ดำเขียว ฯลฯ (เกือบทุกสี)
โลโก : จากการสอบถามผู้ประกอบการ กล่าวว่า เป็นภาพรวงข้าวแทงขึ้นข้างบน ห้ารวง รวงตรงกลางใหญ่และลดหล่นลงไปมีขีดข้างใต้ และคำว่ากอทองตัวเขียนลายมือ “กอ” คือ กอข้าว กลุ่มกอ การทำการเกษตรของชุมชน “ทอง” คือความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคง
ภาพประกอบ : ภาพถ่านคาร์บอนไม้ไผ่, ภาพน้ำผึ้งถูกตักออกจากโหล, ภาพดอกเยอบีราสีชมพูเกสรเหลือ, ภาพกราฟิกเวคเตอร์รูปกอไผ่, ภาพกราฟิกการ์ตูน, ชายหญิง, โลโกกลุ่มร่วมทุนฯ
ลวดลาย : ไม่มี
พื้นหลัง : ไล่ Gradient สีขาวเหลือง
ข้อความบนฉลากสินค้า : “ผสมถ่านไม้ไผ่” “สูตรผสมน้ำผึ้ง” “ครีมอาบน้ำ” “สนับสนุนคนไทยให้เอาถ่าน,ฅนเอาถ่าน” “ขจัดสารพิษตกค้างบนผิวหนังบนผิวหนังช่วยให้เลือดไหลเวียน ระงับกลิ่นกาย ผลัดเซลล์ผิวเก่า เผยผิวใหม่” “สดใสเปล่งปลั่ง เนียนลื่นกว่าเดิม” “คุณสมบัติ” “ใช้ทำความสะอาดผิวกาย ด้วยประสิทธิภาพของผงถ่านช่วยขจัดสารพิษตกค้างและดูดซับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดออกจากรูขุมขน และช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพทำให้ผิวสดใสขึ้น ส่วนผสมของน้ำผึ้งบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น นุ่มนวลสดใสเปล่งปลั่ง ไม่แห้งตึง” “ศูนย์เรียนรู้กลุ่มรวมทุนวิสาหกิจชุมชน ตำบลหนองแซง” “เลขที่ 166 หมู่ที่ 1 ต.หนองแซง อ.หันคา จ.ชัยนาท โทร/แฟกซ์ 056-401132 มือถือ 087-2098138 E-mail : cmenonsaeng@hotmail.com” “เลขที่ใบรับแจ้ง 18-1-5600001” “วัน........เดือน................ปี................ที่ผลิต”
แบบอักษรที่ใช้ : “ผสมถ่านไม้ไผ่”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL PojamarnSpecial “สูตรผสมน้ำผึ้ง”ใช้ชุดตัวพิมพ์ JS Macha “ครีมอาบน้ำ” ใช้ชุดตัวพิมพ์PSL Passanun “สนับสนุนคนไทย”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL ImperialExtra “ให้เอาถ่าน”ใช้ชุดตัวพิมพ์PSL Passanun, “ฅนเอาถ่าน”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL Chamnarn” “ขจัดสารพิษตกค้างบนผิวหนังบนผิวหนังช่วยให้เลือดไหลเวียน ระงับกลิ่นกาย ผลัดเซลล์ผิวเก่า เผยผิวใหม่”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL Pojamarn “สดใสเปล่งปลั่ง เนียนลื่นกว่าเดิม”ใช้ชุดตัวพิมพ์ Kittithada Special “คุณสมบัติ”ใชชุดตัวพิมพ์ JS Chusri “ใช้ทำความสะอาดผิวกาย ด้วยประสิทธิภาพของผงถ่านช่วยขจัดสารพิษตกค้างและดูดซับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดออกจากรูขุมขน และช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพทำให้ผิวสดใสขึ้น ส่วนผสมของน้ำผึ้งบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น นุ่มนวลสดใสเปล่งปลั่ง ไม่แห้งตึง”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL ImperialExtra “ศูนย์เรียนรู้กลุ่มรวมทุนวิสาหกิจชุมชน ตำบลหนองแซง” “เลขที่ 166 หมู่ที่ 1 ต.หนองแซง อ.หันคา จ.ชัยนาท โทร/แฟกซ์ 056-401132 มือถือ 087-2098138”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL Narissara “E-mail : cmenonsaeng@hotmail.com”ใช้ชุดตัวพิมพ์ PSL Passanun “เลขที่ใบรับแจ้ง 18-1-5600001”ใช้ชุดตัวพิมพ์ Angsana New “วัน........เดือน................ปี................ที่ผลิต” ใช้ชุดตัวพิมพ์ TH K2D July8 
 โลโก้ชื่อสินค้า : “กอทอง” 
 โลโก้ผู้ผลิต : โลโก้กลุ่มร่วมทุนฯ
รูปด้านของตัวผลิตภัณฑ์

ส่วนประกอบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์




การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์
ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น

คำอธิบายข้อมูลบนฉลากสินค้าและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์

สีเหลือง
หมายเลข 1 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า
หมายเลข 2 คือ ชื่อสินค้า “ครีมอาบน้ำ”
หมายเลข 3 คือ คำอธิบายเกี่ยวกับส่วนผสม พร้อมภาพ 
หมายเลข 4 คือ สโลแกน ทางการค้า 
หมายเลข 5 คือ ข้อความบอกสรรพคุณข้างต้น 
หมายเลข 6 คือ คุณสมบัติและการใช้งาน 
หมายเลข 8 คือข้อความแจ้งวันที่ผลิต-วันหมดอาย
หมายเลข 9 คือ ข้อความแจ้ง ที่อยู่แหล่งผลิตและ การติดต่อ
หมายเลข 10 คือ ข้อมูลแจ้งเลขที่ใบรับแจ้ง 

สีฟ้า
หมายเลข 1 คือ หัวกดปั้ม
หมายเลข 2 คือ ส่วนฝาปิดบรรจุภัณฑ์
หมายเลข 3 คือ ขวดกลมทรงกระบอกใส

สีเขียว
หมายเลข 4 คือ ตัวผลิตภัณฑ์สีน้ำตาลทองอมเขียวหม่น

การศึกษาตัวบรรจุภัณฑ์และการออกแบบฉลากของผลิตภัณฑ์เดิม
ด้วยโปรแกรม Sketch up และ Adobe Illustrator




ภาพแสดงการใช้งานโปรแกรมSketch upในการสร้างบรรจุภัณฑ์จำลอง
การศึกษาฉลากบรรจุภัณฑ์จากการเทียบระยะ กราฟิกชุดตัวพิมพ์ และสีสัน

Brand Logo Study

แบบจำลองผลิตภัณฑ์ที่ศึกษา

การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งอุปสรรคและโอกาส (SWOT Analysis)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น