อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
สมุดสเกตช์
ดินสอ 2B
ยางลบ
ไม่บรรทัด/สายวัด
ไซริง
ขวดเปล่า
แผ่นรองตัด
กรรไกร
คัตเตอร์
กระดาษA4
กระดาษนกกระจอกแผ่นใหญ่
กล้องถ่ายภาพ
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษา 2 ชิ้น
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
“วิสาหกิจชุมชน” จัดเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การสนับสนุนจึงไม่เป็นระบบและไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้มีปัญหาในการดำเนินงานเพราะวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน และบางครั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จึงได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ความหมายของวิสาหกิจชุมชน
ได้ให้คำนิยามคำว่า วิสาหกิจชุมชน (Small and Micro community Enterprise--SMCE) หมายถึง “การประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว เพื่อจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและความเพียงพอของครอบครัวและชุมชน ทุน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่น้องไว้ใจกัน) ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก”
วิสาหกิจชุมชน หมายถึง การประกอบการ ซึ่งรวมถึงกระบวนการคิด การจัดการผลผลิต และทรัพยากรทุกขั้นตอนโดยมีภูมิปัญญาขององค์กรชุมชนหรือเครือข่ายขององค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งมิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อการสร้างกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกำไรทางสังคม ได้แก่ ความเข้มแข็งของชุมชนและความสงบสุขของสังคมด้วย
วิสาหกิจชุมชน คือ การประกอบการโดยชุมชนที่มีสมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งด้านการผลิต การค้า และการเงิน และต้องการใช้ปัจจัยการผลิตนี้ให้เกิดดอกผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างรายได้และอาชีพ ด้านสังคม คือ การยึดโยงร้อยรัดความเป็นครอบครัวและชุมชนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ แบ่งทุกข์แบ่งสุขซึ่งกันและกัน โดยผ่านการประกอบกระบวนการของชุมชน
สำหรับความหมายของวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 นั้น วิสาหกิจชุมชน หมายความว่า “กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าการให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรูปนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนประกาศกำหนด”
ลักษณะของวิสาหกิจชุมชน
จากความหมายของวิสาหกิจชุมชนข้างต้นนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 อย่างด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน คือ
1. ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง แต่อย่างไรก็ดี คนนอกอาจมีส่วนร่วมโดยอาจมีการถือหุ้นได้เพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่หุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจ
2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน ซึ่งอาจจะนำวัตถุดิบบางส่วนมาจากภายนอกได้แต่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด
3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งมีความรู้ภูมิปัญญา หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเกิดมีความเชื่อมั่นในตัวเองก็จะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่เอาแต่เลียนแบบหรือแสวงหาสูตรสำเร็จ
4. มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานทุนที่สำคัญ เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับประยุกต์ให้ทันสมัย ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาสากลหรือจากที่อื่น
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ทำแบบโครงการเดี่ยว คล้ายกับปลูกพืชเดี่ยว แต่เป็นการทำแบบวนเกษตร คือ มีหลาย ๆ กิจกรรมประสานผนึกพลัง (synergy) และเกื้อกูลกัน (cluster)
6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก การเรียนรู้คือหัวใจของกระบวนการพัฒนา วิสาหกิจชุมชน หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะมีแต่การเลียนแบบ การหาสูตรสำเร็จโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะไม่มีวิสาหกิจชุมชนบนฐานความรู้ แต่บนฐานความรู้สึก ความอยาก ความต้องการตามที่สื่อในสังคมกระตุ้นให้เกิด ทำให้ความอยากกลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตไปหมด
7. มีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย การพึ่งตนเองคือเป้าหมายอันดับแรกและสำคัญที่สุดของวิสาหกิจชุมชน ถ้าหากพลาดเป้าหมายนี้คือพลาดเป้า วิสาหกิจชุมชนจะกลายเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่กำไรก่อนที่จะคิดทำให้รอด ไม่พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เกิดความมั่นคงก่อนที่จะก้าวไปพัฒนาธุรกิจ
ประเภทของวิสาหกิจชุมชน
ในการแบ่งประเภทของวิสาหกิจชุมชน สามารถมองได้หลายมิติ กล่าวคือ แบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก และแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน
การแบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน เป็นการผลิตเพื่อการใช้ในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง คือ ข้าว อาหาร สมุนไพร ของใช้ ปุ๋ย ซึ่งอยู่ในขีดความสามารถของชาวบ้านทั่วไปจะทำได้ เป็นของต้องกินต้องใช้ประจำวัน มีมูลค่ามากกว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งปีของ แต่ละครัวเรือน แต่ชาวบ้านทั่วไป ไม่ว่าอยู่ใกล้เมืองหรือไกลเมืองต่างก็ซื้อกินซื้อใช้
2. วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า เป็นวิสาหกิจชุมชนที่สามารถนำออกสู่ตลาดใหญ่ ได้เพราะมีลักษณะเฉพาะตัว มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น บางอย่างอาจมีสูตรเด็ดเคล็ดลับหรือคุณภาพดีในระดับมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็คือหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า
ส่วนการแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ระดับครอบครัว คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง เป็นการประกอบกิจกรรมเพื่อกินใช้ในครอบครัว เพื่อทดแทนการพึ่งพาจากภายนอก เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรไว้ใช้กินในครอบครัว
2. ระดับชุมชนและเครือข่าย คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพอเพียง เป็นการประกอบกิจการ โดยกลุ่ม เพื่อตอบสนองการอุปโภคบริโภคในชุมชนและเครือข่าย ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาให้เป็นวิสาหกิจชุมชนแบบก้าวหน้าได้ เพื่อที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้
ทั้งนี้การประกอบการวิสาหกิจชุมชนไม่ได้เน้นเพื่อกำไรสูงสุด แต่จะเน้นที่การลดค่าใช้จ่าย การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ที่มา : http://ophbgo.blogspot.com/
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรกระดังงา
ต้นกำเนิดมาจากเจ้าของผลิตภัณฑ์คือ คุณแม่สมปอง ศิริไลได้เกิดมีอาการแพ้ฝุ่นละอองต่างๆ แล้วมีผดผื่นคันขึ้นบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องใช้ยาแผนปัจจุบันทั้งทานและทาเป็นประจำแต่ก็ไม่หาย จึงมีความคิดและศึกษานำเอาสมุนไพรตามธรรมชาติที่มีอยู่ ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพร แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน จึงนำเอาสมุนไพรแต่ละชนิดมาผสมปรุงแต่งทำเป็นแป้งสมุนไพรบ้าง สบู่เหลวอาบน้ำสมุนไพรบ้าง แล้วมาใช้กับตัวท่านเองเป็นประจำ ปรากฏว่าอาการผดผื่นคันที่เกิดขึ้นได้บรรเทาลดลงไปเรื่อยๆจนหายขาด เมื่อได้ใช้ดีกับตัวท่านเองแล้ว จึงอยากเผยแผ่ให้กับคนอื่นๆที่มีอาการลักษณะคล้ายๆกันได้ทดลองใช้แล้วปรากฏว่าได้ผลเหมือนกัน เขาจึงขอให้ทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆเพื่อจำหน่าย
ติดต่อ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรกระดังงา58 หมู่ 9 ต. กระดังงา อ.บางคนที จ.สมุทรสงครามเบอร์โทรศัพท์มือถือ 081- 634-9456v , 081-922-3486 E-mail : ekthanat.t@gmail.com
http://www.sme-ssru.com/2557/kradang-nga/
Visual Analysis
ชื่อผลิตภัณฑ์ : สเปรย์ตะไคร้หอมกันยุง Citranella Oil Mosquito Reppellent
ช่วยปกป้องจากยุง และแมลงรบกวน โดยไม่เป็นอันตรายต่อคน และสัตว์เลี้ยง
ประเภท : ผลิตภัณฑ์ทั่วไป
สถานะผลิตภัณฑ์ : ของเหลว
วิธีใช้ผลิตภัณฑ์ : ใช้ฉีดพ่นบริเวณแขน และขา ยกเว้นบริเวณผิวหน้า ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไล่ยุงและแมลงที่รบกวน
ส่วนประกอบ : Citronella Oil,Alcohol,Eucalyptus,camphor
สี : เขียวใส
ขนาดบรรจุ : 100 มล.
ราคา : 120 บาท
ข้อมูลส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
Citronella Oil
น้ำมันตะไคร้หอมสกัด
1. ชื่อสมุนไพร ตะไคร้หอมชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,
ชื่อวงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อพ้อง Cymbopogon winterianus Jowitt.
ชื่ออังกฤษ Citronella grass
ชื่อท้องถิ่น จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, ตะไคร้แดง
2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง ออกเป็นกอ มีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปยาวแคบ โคนใบแผ่ออกเป็นกาบ มีลิ้นใบรูปไข่ มีขน อยู่ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบมีแผ่น ดอกช่อขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ใบประดับลักษณะคล้ายกาบ ดอกช่อเชิงลด แยกเป็นหลายแขนง ออกเป็นคู่ ช่อย่อยมีใบประดับที่โคน 2 ใบ ใบนอกมีหยัก ด้านนอกแบนเขอบแผ่ออกเป็นปีกแคบๆ และขอบด้านบนสาก ใบในรูปเรือ ปลายแหลมมีเส้นตามยาว 1-3 เส้น ขอบมีขน แต่ละดอกย่อยมีใบประดับ 2 แผ่น เรียกกาบบนและกาบล่าง กาบบนรูปขอบขนาน เนื้อบาง ขอบมีขน กาบล่างรูปยาว แคบ มีขนแข็งและปลายแหลม ผลเป็นผลแห้งเมล็ดเดียว ไม่แตก
3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ
- ทั้งต้น ไล่ยุงและแมลง
4. สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์
น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor, cineol, eugenol, citral และ linalool, citronellal และ geraniol
5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
5.1 ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง
น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ สามารถป้องกันยุงลาย ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญกัดได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมร้อยละ 14 สามารถทาป้องกันยุงรำคาญได้ในอาสาสมัคร 13 คน จากทั้งหมด 20 คน และมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate ร้อยละ 20 และ diethyl toluamide ร้อยละ 5) ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้นร้อยละ 1.25, 2.5 และ 5 มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงก้นปล่องได้นาน 2 ชั่วโมง และที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 จะป้องกันได้มากกว่า 4 ชั่วโมง ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่าร้อยละ 5 น้ำมันตะไคร้หอมร้อยละ 2.5 และวานิลลินร้อยละ 0.5 มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้นานกว่า 6 ชั่วโมง
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม สามารถป้องกันยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้างได้นาน 8-10 ชั่วโมง ความเข้มข้นที่ให้ผลป้องกันยุงลายได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) เท่ากับร้อยละ 0.031 และ 5.259 ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยความเข้มข้นร้อยละ 1 สามารถป้องกันยุงกัดได้ร้อยละ 75.19 สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 90 จากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมความเข้มข้นร้อยละ 10 มีฤทธิ์ไล่ตัวอ่อนของเห็บได้นานถึง 8 ชั่วโมง และสามารถไล่ตัวอ่อนของเห็บพันธุ์ Amblyomma cajennense ได้ด้วยค่า EC50 และ EC90 เท่ากับ 0.089 และ 0.343มิลลิกรัม/ตารางเซ็นติเมตร และที่ความเข้มข้น 1.1 มิลลิกรัม/ตารางเซ็นติเมตร ไล่ตัวอ่อนของเห็บได้ร้อยละ 90 นาน 35 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่ทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว นอกจากนี้ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่แมลงวัน ผีเสื้อกลางคืน และพวกแมลงบินต่างๆ ได้ด้วย
5.2 ฤทธิ์ฆ่าแมลง
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนของยุงก้นปล่องและยุงรำคาญได้ โดยระยะเวลาที่ตัวอ่อนตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 1.2 และ น้อยกว่า 0.2 นาที ตามลำดับ และมีฤทธิ์ป้องกันการวางไข่ด้วงถั่ว (Callosobruchus sps) สามารถฆ่าด้วงถั่ว และแมลงวันได้
สารสกัดตะไคร้หอมที่ความเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วน (part per million, ppm) จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชั่วโมง นอกจากนี้สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 10 จากต้นตะไคร้หอมแห้ง 50 กรัม/ลิตร จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง แชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในสัดส่วน 10 มิลลิลิตร/น้ำ 1 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาว แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่วได้
6. อาการข้างเคียง - ยังไม่มีรายงาน
7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์
7.1 การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำในอัตราส่วน 1:1 จากส่วนของต้นขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ ไม่พบความเป็นพิษ
8. วิธีการใช้
8.1 การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
ก ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ บริเวณที่อยู่
ข ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆตัว
8.1 การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
ก ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ บริเวณที่อยู่
ข ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆตัว
8.2 ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ - ไม่มี
การกลั่นน้ำมันตะไคร้หอม
ขั้นตอนแรก การตัดตะไคร้หอม
1. การตัดตะไคร้หอม ไม่ควรตัดถึงบริเวณก้านต้น ควรเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นใบเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เวลากลั่นจะได้ปริมาณน้ำมันเป็นจำนวนมากนั่นเอง
2. การสังเกตว่าต้นตะไคร้หอมจะให้ปริมาณน้ำมันมากน้อยเท่าใดนั้น ดูได้จากสีใบและรูปทรงของใบ คุณภาพที่ดีนั้นควรมีสีเขียวสด และลักษณะของใบเรียวเล็กสวย
3. หากเป็นไปได้ควรจะตัดในเวลาเช้า เพราะจะได้ปริมาณน้ำมันมากกว่าใช้ใบตะไคร้หอมที่ตัดในเวลาเที่ยงหรือเย็น และควรนำมาต้มกลั่นทันทีหลังจากตัดใบมาแล้ว
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมถังต้มกลั่น
1. อันดับแรก จะต้องตัดลำไม้ไผ่เป็นท่อนๆ และผ่าครึ่ง สำหรับนำมาวางเรียงลงให้เต็มพื้นที่ก้นถังเสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้ใบตะไคร้หอมไหม้เวลาต้มกลั่น
2. จากนั้นเปิดน้ำใส่ลงในถังให้สูงระดับ 40 ซ.ม.
3. ต่อมาจึงนำใบตะไคร้ที่ตัดเตรียมไว้แล้วใส่ลงไป และย่ำอัดจนกว่าจะเต็มถัง
4. เมื่อเต็มถังดีแล้ว จึงทำการปิดฝาให้สนิท ด้วยการยาดินที่ผสมน้ำให้เกิดความเหนียวรอบฝาปิดแล้วใช้แถบผ้าชุบน้ำพันโดยรอบให้สนิทอีกครั้ง
5. น้ำท่อกลั่นน้ำมันตะไคร้หอมมาประกอบเข้ากับปากฝาครอบถังต้มกลั่น เช่นเดียวกันคือนำดินผสมน้ำมายาและพันผ้าโดยรอบ เพื่อกันมิให้เกิดการรั่วซึม ทั้งนี้กำหนดให้ปลายท่อกลั่นต้องอยู่ต่ำกว่าระดับระนาบเล็กน้อย เพื่อให้ของเหลวที่ผ่านกระบวนการกลั่นไหลลงสู่ถังกระบอก
6. ต่อสายยางบริเวณจงอยที่อยู่ด้านบนของท่อกลั่น สำหรับระบายน้ำทิ้ง
7. ต่อสายยางเข้ากับจงอยด้านในของส่วนปลายท่อกลั่น สำหรับเปิดน้ำเข้าสู่ท่อกลั่น
8. และต่อท่อสแตนเลสที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้วเข้ากับจงอยด้านนอกสุดของท่อกลั่น เพื่อรองรับของเหลวที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วให้ไหลลงสู่ถังทรงกระบอก ก่อนที่จะนำไปแยกส่วนที่เป็นน้ำกับน้ำมันออกจากกันอีกครั้งหนึ่ง
9. ให้นำแผ่นพลาสติกปิดปากถังกระบอก เจาะรูพลาสติกให้พอดีกับท่อสแตนเลส
10. กะละมังสำหรับรองรับน้ำกลั่น ขณะแยกน้ำมันตะไคร้หอมจากถังกระบอก เริ่มกระบวนการผลิต เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว จึงเริ่มกระบวนการต้มกลั่นด้วยการก่อไฟใต้ถังต้มกลั่นที่เตรียมไว้ ครั้งแรกสามารถเร่งไฟให้แรงได้ จนกระทั่งน้ำเดือด ( สังเกตได้ด้วยการ เปิดแผ่นพลาสติก ดูว่ามีควันและหยดน้ำไหลลงสู่ถังกระบอกหรือยัง เทคนิกพิเศษควรใส่น้ำแข็ง 1 ขันลงไป) ให้ลดแรงไฟลง โดยพยายามไม่ให้เปลวไฟลุกสูงเกินขอบก้นถังต้มกลั่น เพราะหากไฟแรงเกินไป จะทำให้การต้มกลั่นจะได้น้ำมากกว่าน้ำมัน ระหว่างนี้หมั่นเฝ้ารอสังเกตของเหลวในถังกระบอก รวมทั้งใช้แก้วใสตักดูปริมาณของเหลวว่ามีน้ำมันตะไคร้ลอยอยู่หรือไม่ เมื่อได้ตามที่ต้องการแล้วให้คอยใส่ฟืนและควบคุมความร้อนให้สม่ำเสมอ จนกระทั่งปริมาณของของเหลวสูง 2 ใน 3 ส่วนของถังกระบอก จึงปล่อยให้ไฟค่อยๆ มอดดับเอง ขณะเดียวกันถอดท่อสแตนเลสและเปิดแผ่นพลาสติกออกถังกระบอก จากนั้นเปิดก๊อกระบายส่วนที่เป็นน้ำกลั่น * ปล่อยลงกะละมังที่เตรียมไว้ ( * สังเกตได้ว่า ส่วนที่เป็นน้ำมันตะไคร้ลอยตัวเป็นแผ่นบนผิวน้ำจะมีสีเข้มกว่าน้ำ) ปล่อยน้ำจึงถึงระดับเหนือท่อก๊อกเล็กน้อย แล้วจึงปิดก๊อกทันที การแยกน้ำมันตะไคร้หอมออกจากน้ำกลั่น ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะจะเกิดการสูญเสียได้ง่าย หากไม่ระมัดระวัง นำถังกระบอกเอนลง จากนั้นให้ใช้สายยางขนาดเล็กดูดส่วนที่เป็นน้ำกลั่นออกจากน้ำมันตะไคร้หอม จนเหลือส่วนที่เป็นน้ำมันจริงๆ แล้วจึงนำไปเทบรรจุลงในขวด เพื่อรอการแปรรูปต่อไป หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการกลั่นแล้ว สามารถกระทำการต้มกลั่นได้เลย โดยรอให้ถังต้มกลั่นเย็นพอที่จะเปิดฝาและถอดท่อกลั่นออก จากนั้นเติมน้ำกลั่นลงไปแทนการใช้น้ำธรรมดาเหมือนกับการต้มกลั่นครั้งแรก จากนั้นก็ใส่วัตถุดิบลงไปตามกระบวนการที่ได้อธิบายในคราวแรก ส่วนน้ำกลั่นที่เหลือสามารถเก็บกักไว้ในถังภาชนะ เพื่อนำกลับมาใช้ในการต้มกลั่นในโอกาสต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถนำไปฉีดพ่นไล่ยุง แทนการใช้สารเคมี และยังนำมาเป็นส่วนผสมสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นได้อีกด้วย
รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
1. ถังต้มกลั่น มีขนาดความสูง 150 ซ.ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซ.ม.
2. ใช้ใบตะไคร้หอม 300 ก.ก. ( หรือบนเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 50 ตร.ว. ) จะได้น้ำมันตะไคร้หอม 2 ลิตร 3. ระยะเวลาเริ่มต้นกระบวนการต้มกลั่น (ไม่รวมเวลาการเตรียมการ) จนได้น้ำมันตะไคร้หอมใช้เวลา 6 ชั่วโมง
ประโยชน์ของน้ำมันตะไคร้หอม
1. น้ำมันตะไคร้หอมบริสุทธิ์สามารถรับประทานได้ โดยมีสรรพคุณรักษาแผลในช่องปาก
2. สามารถนำมาแปรรูปผลิตอื่นๆ อาทิเช่น ยาหม่องทั้งชนิดน้ำและข้น
Camphor
การบูร
การบูร
ชื่อสมุนไพร การบูร
ชื่ออื่นๆ อบเชยญวน พรมเส็ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl.
ชื่อพ้อง Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.
ชื่อวงศ์ Lauraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ราก และโคนต้น ทรงพุ่มกว้าง ทึบ ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวหยาบ เปลือกกิ่งสีเขียว หรือน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบ ไม่มีขน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 5.5-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอมเทาหรือนวล ไม่มีขน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร เส้นใบขึ้นตรงมาจากโคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แล้วแยกออกเป็น 3 เส้น ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อม 2 ต่อม และตามเส้นกลางใบอาจมีต่อมเกิดขึ้นตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกไป ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ไม่มีขน ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ ดอกช่อแบบแยกแขนงออกตามเป็นกระจุกบริเวณง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว ก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ รูปรี ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนละเอียด เกสรเพศผู้มี 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงละ 3 อัน อับเรณูของวงที่ 1 และวงที่ 2 หันหน้าเข้าด้านใน ก้านเกสรมีขน ส่วนอับเรณูของวงที่ 3 หันหน้าออกด้านนอก ก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อม 2 ต่อมอยู่ใกล้โคนก้าน ต่อมรูปไข่กว้างและมีก้าน อับเรณูมีช่องเปิด 4 ช่อง เรียงเป็น 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิดทั้ง 4 ช่อง เกสรเพศผู้เป็นหมันมี 3 อัน อยู่ด้านในสุด รูปร่างคล้ายหัวลูกศร มีขนแต่ไม่มีต่อม รังไข่รูปไข่ ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ไม่มีขน ปลายเกสรเพศเมียกลม ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม ผลรูปไข่ หรือกลม เป็นผลมีเนื้อ ยาว 6-10 มิลลิเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีดำ มีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล มีเมล็ด 1 เมล็ด ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เนื้อไม้ นำมากลั่นจะได้ “การบูร” รสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้ผสมเป็นยาเพื่อป้องกันแมลงบางชนิด เปลือกและราก กลั่นได้การบูร ใช้ 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย
องค์ประกอบทางเคมี
เนื้อไม้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้การบูรและน้ำมันหอมระเหย รวมกันประมาณ 1% ประกอบด้วย limonene, p-cymol, orthodene, salvene, caryophyllen, linalool, cineole, eugenol, acetaldehyde และ betelphenol ราก มีน้ำมันหอมระเหย 3% ประกอบด้วย camphor, safrole, carvacrol, phellandene, limonene, pinene, camphene, fenochen, cadinene, azulene, citronellol, piperonylic acid, cineol, terpineol, piperiton, citronellic acid ใบ พบ camphor และ camperol
Eucalyptus
ยูคาลิปตัส
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucalyptus globulus Labill. (Eucalyptus citriodora Hook.)
ชื่อสามัญ : Eucalyptus
วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว
ชื่อสามัญ : Eucalyptus
วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มลำต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น
เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็ง
เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก
ส่วนที่ใช้ : ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด
สรรพคุณ : เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการข้ออักเสบไล่ หรือ ฆ่ายุง แมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิลิตร (8 หยด) รับประทาน หรือทำยาอม ไล่หรือฆ่ายุง แมลงใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้ กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่ยุงและแมลง
เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็ง
เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก
ส่วนที่ใช้ : ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด
สรรพคุณ : เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการข้ออักเสบไล่ หรือ ฆ่ายุง แมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิลิตร (8 หยด) รับประทาน หรือทำยาอม ไล่หรือฆ่ายุง แมลงใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้ กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่ยุงและแมลง
Alcohol
แอลกอฮอล์
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน(สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (alcoholism—โรคพิษสุราเรื้อรัง)
เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลางแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)
อันตรายจากแอลกอฮอล์
ตามท้องตลาดในขณะนี้ มีการขายแอลกอฮอล์กันทั้งเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซึ้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเช็ดแผลได้เหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก คือ
เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น
เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย
จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มาใช้แทนกัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้
ถึงแม้ว่าทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะควบคุม และตักเตือนผู้ผลิตและผู้ขายให้ระมัดระวังการนำเมทิลแอลกอฮอล์มาใช้ไม่ให้ผิดจากคุณลักษณะประจำของตัวมันแล้ว แต่ยังมีการใช้หรือขายผิดประเภทอยู่บ้าง
ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงใคร่ขอเตือนผู้ผลิตและผู้ขาย ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการขายเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และขอให้แนะนำผู้บริโภคว่าก่อนซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลทุกครั้งควรตรวจดูฉลากให้ละเอียดและเลือกชนิดที่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้นและทางที่ดีถ้าท่านไม่แน่ใจก็ควรซื้อแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองหรือซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (alcoholism—โรคพิษสุราเรื้อรัง)
เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลางแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)
อันตรายจากแอลกอฮอล์
ตามท้องตลาดในขณะนี้ มีการขายแอลกอฮอล์กันทั้งเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซึ้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเช็ดแผลได้เหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก คือ
เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น
เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย
จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มาใช้แทนกัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้
ถึงแม้ว่าทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะควบคุม และตักเตือนผู้ผลิตและผู้ขายให้ระมัดระวังการนำเมทิลแอลกอฮอล์มาใช้ไม่ให้ผิดจากคุณลักษณะประจำของตัวมันแล้ว แต่ยังมีการใช้หรือขายผิดประเภทอยู่บ้าง
ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงใคร่ขอเตือนผู้ผลิตและผู้ขาย ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการขายเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และขอให้แนะนำผู้บริโภคว่าก่อนซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลทุกครั้งควรตรวจดูฉลากให้ละเอียดและเลือกชนิดที่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้นและทางที่ดีถ้าท่านไม่แน่ใจก็ควรซื้อแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองหรือซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว
รูปด้านของผลิตภัณฑ์ (ยังไม่แกะซีลพลาสติก)
Front View
Side View (Right)
Back View
Side View (Left)
Bottom View
Top View
ฉลากฟิล์มหด คือ PVC (Polyvinyl Chloride) โพลิไวนีล คลอไรค์ ชนิดหนึ่งที่ให้ความโปร่งใสเมื่อเวลาแนบอยู่กับสิ่งของชนิดใดๆฟิล์มหดนี้มาจากศัพท์เทคนิคว่า (Shrink film) ซึ่งเรียกตามคุณสมบัติของฟิล์มนั่นเองกล่าวคือ มันจะหดตัวเมื่อได้รับลมร้อนวัสดุที่ใช้ทำฟิล์มหดได้แก่พลาสติกที่โมเลกุลทำให้เรียงตัวกันในระหว่างการผลิตฟิล์มชนิดของพลาสติกที่นิยมใช้คือพอลิไวนิลคลอไรค์ (Polyviny chloride-PV) และพอลิเอทีลีนชนิดหนาแน่นต่ำ (Low densitypolyethlene-LDPE) ฟิล์มหดรัดสินค้าคือ PVC ชนิดกึ่งแข็งที่มีน้ำหนักโมเลกุลปานกลางใช้ในการแผ่นฟิล์มห่อหุ้มผลิตภัณฑ์พลาสติกชริ้งฟิล์ม PVC คือพลาสติกที่เมื่อโดนความร้อนจะหดรัดผลิตภัณฑ์หรือเรียกว่าเป็นการหน่วยของผลิตภัณฑ์ก็ได้ให้อยู่ในรูปทรงของ แพ็คเดียว แพ็คคู่ แพ็คโหล ตามความต้องการซึ่งพลาสติก PVC นี้จะมีคุณสมบัติโดดเด่นตรงที่เนื้อฟิล์มมีความใสทำให้เมื่อหดรัดผลิตภัณฑ์แล้วสามารถแสดงความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ได้ดีมีสีสันของสินค้าที่สวยงาม ข้อความ ยี่ห้อ คุณสมบัติ ส่วนประกอบๆที่ผู้ขายต้องการให้ผู้บริโภคได้เห็นทั้งนี้การใช้ฟิล์มหดห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทราบว่าผู้บริโภคเป็นบุคคลแรกให้การเปิดใช้สินค้านั้นฟิล์มในระบบการจัดจำหน่ายสินค้าปัจุบันไม่ว่าจะเป็นการขายส่งหรือขายปลีกก็ตามการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ฟิล์มหดเพื่อห่อรัดสินค้ากำลังได้รับความนิยมสูงโดยใช้กับสินค้านานาชนิดจำพวกเครื่องอุปโภคและสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆทั้งนี้เนื่องจากอำนวยประโยชน์หลายประการอาทิใช้รวมสินค้าหลายชิ้นใช้เป็นหน่วยใหญ่ซึ่งช่วยให้ความสะอาดต่อการลำเลียงขนส่งและเก็บรักษาใช้ห่อสินค้าเช่นกระดานไวท์บอร์ดเครื่องเขียนต่างๆผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆเพื่อง่ายต่อการขนส่งและเพื่อป้องกันฝุ่นละอองใช้หุ้มรัดสินค้าขายปลีกกับของแถมเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมการขายและใช้หุ้มรัดรอบฝารอบขวดเพื่อกันการขโมยเปิดเป็นต้น
ที่มา : http://www.bkkpack.com/
ตัวอย่างฟิล์มที่แกะออกจาก ตัวบรรจุภัณฑ์แล้ว
ฟิล์มหดที่ปิดตัวผลิตภัณฑ์นี้นับเป็นบรรจุภัณฑ์ขั้นที่2 Secondary Package เป็นตัวป้องกันสินค้าจากการแกะเปิด หรือป้องกันสินค้าจาก แมลง และ สารเคมี ผลิตจากพลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น
รูปด้านของผลิตภัณฑ์ขั้นที่1 Primary Package
Front View
Side View (Right)
Side View (Left)
Back View
Bottom View
Top View
บรรจุภัณฑ์ขั้นนี้จะสัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์โดยตรง ทำหน้าที่เก็บรักษา และการใช้งาน
ตัวขวด ผลิตมาจาก พลาสติก พอลิเอธิลีน เทเรฟธาเลท PET (Polyethylyne Terephthalate)
ซึ่งเป็นพลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 1
พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE) เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์วัดขนาดได้ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.8 cm สูง 14.25 cm เฉพาะตัวขวดวัดได้ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.8 cm สูง 11.85cm จากพื้นขวดถึงคอขวด สูง 10cm คอขวด สูง 1.85cm เส้นผ่านศูนย์กลาง ตรงปากขวด 2.1cm ขอบหนา 0.15 เกลียวสามรอบหนา 0.15
ทำจากพลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2 cm (ขอบนอก)และ 1.9 cm ขอบใน สูง 2.6 cm
สีใสขุ่น
ลักษณะคือ เป็นตัวกดและตัวพ่น ออกแบบให้มีลักษณะโค้งเว้าลงให้พอดีกับนิ้วมือ สลักเป็นร่องรูปลูกศรชี้บอกทิศทางของสเปรย์
ขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 1.50cm สูง 1.60cm หัวฉีดมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.50cm จุกเสียบท่อจากคอสเปรย์เส้นผ่านศุนย์กลาง 0.2cm ลูกศรมีขนาด 0.7x0.5cm
คอสเปรย์ (ฝาขวด)
เป็นส่วนที่เป็นสลักเกลียวยึดติดกับขวด มีกลไกกดเพื่อให้ หลอดในขวดดูด ของเหลวในขวดพ่นออกมาเป็นสเปรย์
ขนาด ดูตามภาพด้านบน
ส่วนที่เป็นสเปรย์ทำจากพลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ
และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น
ขนาด สายยาว 9.5cm เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2cm ท่อสายเส้นผ่านศุนย์กลางขนาด 0.1cm
สายยางนี้ทำมาจาก พลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำ
สำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น
ขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 1.50cm สูง 1.60cm หัวฉีดมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.50cm จุกเสียบท่อจากคอสเปรย์เส้นผ่านศุนย์กลาง 0.2cm ลูกศรมีขนาด 0.7x0.5cm
คอสเปรย์ (ฝาขวด)
เป็นส่วนที่เป็นสลักเกลียวยึดติดกับขวด มีกลไกกดเพื่อให้ หลอดในขวดดูด ของเหลวในขวดพ่นออกมาเป็นสเปรย์
ขนาด ดูตามภาพด้านบน
ส่วนที่เป็นสเปรย์ทำจากพลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ
และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น
สายยาง
สายยางนี้ทำมาจาก พลาสติกรีไซเคิลหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำ
สำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น
ใช้กระดาษสติ๊กเกอร์เคลือบมันปรินท์อิงค์เจ็ท 4 สี่ ขนาด 6x8cm ประกอบด้วยโลโก้ ชื่อผลิตภัณฑ์ กราฟิกภาพ และตัวอักษร
คำว่า "สมุนไพร"สัณนิษฐานว่าใช้ตัวอักษรชุดตัวพิมพ์ สุขุมวิท ซึ่งเป้นตัวพิมพ์ที่ไม่มีหัว สีแดง คำว่ากระดังงาสัณนิษฐานว่าออกแบบมาจากดอกกระดังงา ดูจากลักษณะของตัวอัการที่โค้งและหยักคล้ายกลีบของดอก ใช้สี Gradient ไล่แดงเข้มไปแดงอ่อนจากบนลงล่าง ทำ Stroke สีขาว และใส่ ฟิลเตอร์ Drop Shadow พื้นหลังเป็นกราฟิกรูปลายดอกกระดังงาสีส้มไล่ Gradient
ค่าสี
ตัวอย่างค่าสีที่วัดได้
C = 0 0 7 0 0 0 6 22
M = 98 94 22 85 61 79 46 26
Y = 64 39 0 63 100100100 100
K = 0 0 0 0 0 0 0 0
ซึ่งไม่ตายตัวเพราะเป้นการไล่ Gradient
ส่วนกราฟิกตัวอักษร ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ใช้ชุดตัวพิมพ์ TH Charm of AU
ด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างงาน สร้างทักษะ และสร้างตลาดทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภคที่สามารถเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ที่มีความหลากลายมากขึ้นต่อไปฟอนต์นี้เป็นหนึ่งในโครงการเผยแพร่ฟอนต์ลิขสิทธิ์จากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
TH Charm of AU ออกแบบโดย คุณกัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ
"สเปรย์ตะไคร้หอมกันยุง" ใช้สีเขียว ค่าสี C89 M931 Y100 K24
"Citronella Oil Mosquito Repellent Spray" ใช้สีม่วงเข้มค่าสี C47 M84 Y76 K72
"Anti Mosquito Spray"ใช้สีส้มค่าสี C0 M99 Y100 K0
"ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยปกป้องจากยุง และแมลงรบกวน โดยไม่เป้นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง"กับข้อมูลวิธีใช้ ใช้สีเขียวเข้มค่าสี C86 M73 Y56 K76
ส่วนผสม ที่อยู่ และข้อมูลอื่นๆใช้สีน้ำเงินเข้ม ค่าสี C100 M96 Y37 K54
ใช้พิ้นหลังเป็นภาพถ่ายรูปลำต้นตะไคร้ วางทับซ้อนกันสื่อถึงวัตถุดิบที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์
และกราฟฟิกเวคเตอร์รูปยุงคาดด้วยเครื่องหมายหมายห้าม สื่อถึงการปกป้อง ป้องกันยุงและแมลง
แบบสเกตช์ ตรวจสอบ บรรจุภัณฑ์
การสังเกตและทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์
สถานะ : ของเหลว
สี : เขียวใส
กลิ่น : กลิ่นตะไคร้หอมแรง
สัมผัส : เปียก แห้งไว ทิ้งความมันไว้เล็กน้อย
กลไกการทำงานของสเปรย์
แรงกด ถูกอัดเข้าไปในขวด ทำให้ปริมาตรลดลง ดันน้ำกับอากาศให้พุ่งออกจากหัวฉีด ซึ่งอยู่ที่ปากหัวฉีด คล้ายกลไกของปืนฉีดน้ำ
ประสิทธิภาพ ของ ผลิตภัณฑ์
มีกลิ่นที่หอมและสามารถปกป้องยุงและแมลงได้ดีเยี่ยม
- ข้อดีข้อเสียของบรรจุภัณฑ์และฉลากของบรรจุภัณฑ์
1.ขวดสเปรย์ที่เป็นบรรจุภัณฑ์ค่อนข้างธรรมดา
2.ฉลากที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ รูปลักษณ์ดูธรรมดา ไม่น่าสนใจไม่โดนเด่น ไม่เชิญชวนให้ซื้อ ภาพที่ใช้ประกอบ
สื่อถึงวัตถุดิบของสินค้าไม่ค่อยชัด สวนทางกับราคาและปริมาตรของสินค้า
3.ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าไม่ชัดเจน อ่านยาก สื่อยากและดูไม่ออกว่าคืออะไร
4.ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลทางกฎหมาย ข้อมูลการรับรอง ข้อมูลการจดทะเบียนไม่มีระบุในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็น
5.ฉลากบรรจุภัณฑ์อาจใช้ผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์และข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์เช่นตัวพิมพ์ หรือ รูปภาพในการออกแบบ
ซึ่งอาจมีผลต่อทางกฎหมาย
6.ไม่มีหีบห่อเพื่อป้องกันตัวบรรจุภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยและง่ายต่อการ ย้าย หรือ ขนส่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น